หน้าหลัก
รู้จัก ม.ส.ท.
ภาพรวม ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
รู้จัก ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
งานของเรา
กลุ่มงานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
งานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
คลังความรู้
แหล่งรวมความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
คลังความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
กิจกรรมข่าวสาร
ข่าวสารความเคลื่อนไหว
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมข่าวสาร
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
ร่วมงานกับเรา
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ร่วมงานกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ติดต่อเรา
งานของเรา
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
เตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดเชียงราย เพื่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยั่งยืน
กิจกรรม
...
เตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดเชียงราย เพื่อการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่ยั่งยืน
พื้นที่เมืองถือเป็นพื้นที่เปราะบางมาก เนื่องจากจากการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว การวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ครอบคลุม ไม่เหมาะสม และไม่ได้คำนึงถึงระบบนิเวศ นำไปสู่การสูญเสียระบบนิเวศตามธรรมชาติที่สามารถช่วยรองรับและบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งผลิตอาหาร ตลอดจนเป็นพื้นที่กักเก็บ สำรองน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และป้องกันน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับแรมซาร์ไซด์ 1 แห่ง (เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย) ระดับนานาชาติ 1 แห่ง ระดับชาติ 3 แห่ง และระดับท้องถิ่นกว่า 670 แห่ง
วันที่ 11-14 มิ.ย. 2567 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) นำโดยคุณธนิรัตน์ ธนวัฒน์ ผู้จัดการโครงการ พร้อมด้วยคณะนักวิจัย ร่วมกับ องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) หน่วยงานภาคีความร่วมมือภายใต้โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเมืองและธรรมชาติในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากวิกฤติสภาพอากาศ (Urban Resilience Building and Nature) สำรวจพื้นที่และเข้าพบหารือหน่วยงาน เพื่อแลกเปลี่ยนในประเด็นในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในจังหวัดเชียงราย และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ในอดีตและปัจจุบัน ปัญหาด้านภัยพิบัติและการรับมือ และการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้ข้อสรุปว่า ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำบางแห่งในพื้นที่ เริ่มถูกบุกรุกและมีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่เหมาะสม บางแห่งหายไปจากการขยายตัวของเมือง พื้นที่เกษตรกรรม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับจังหวัด เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนและเหมาะสมพื้นที่ โดยเริ่มจากการกำหนดบทบาทหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ตลอดจนการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ ในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนท้องถิ่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลและจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำให้คงอยู่ต่อไป
Share:
แชร์
Tweet
Tags:
การปรับตัว
การปรับตัวของเมือง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ม.ส.ท.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สิ่งแวดล้อม
Share: