Urban Resilience Building and Nature พื้นที่เชียงราย “เมืองรู้รับปรับตัว”

เมืองเชียงราย เหนือสุดของไทย พื้นที่ต้นน้ำที่มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน เช่น แม่น้ำกก แม่น้ำกรณ์ แม่น้ำลาว แม่น้ำสาย แม่น้ำจัน เป็นต้น เอื้อต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การบริการการท่องที่ยว การค้าขาย ฯลฯ แต่ในฤดูน้ำหลากจะประสบปัญหาน้ำท่วมและน้ำท่วมขัง สร้างความเดือดร้อนต่อชุมชนโดยเฉพาะในเขตเมือง

 7-10 สิงหาคม 2566 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) นำโดย ดร.จีรนุช ศักดิ์คำดวง ผู้เชี่ยวชาญ และคุณพวงผกา ขาวกระโทก นักวิจัย ร่วมกับผู้แทนจาก  IUCN กรมทรัพยากรน้ำ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำรวจพื้นที่และหารือแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับนายสมเกียรติ ปูกา (ผอ.ทสจ.เชียงราย) สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงราย อปท. และชุมชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อบต.ริมกก บ้านเมืองงิม ทน.เชียงราย บ้านสันติสุข กำนัน และผู้นำชุมชนตำบลแม่ยาว แลกเปลี่ยนข้อมูลการตั้งรับปรับตัวต่อวิกฤติของสภาพภูมิอากาศโดยใช้ธรรมชาติเป็นฐาน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ และเยี่ยมชมพื้นที่ชุมชนที่แม่น้ำกกและแม่น้ำกรณ์ไหลผ่าน สะท้อนปัญหาและอุปสรรคจากการขยายตัวของเมือง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ผ่านมา

การสำรวจและเยี่ยมชมพื้นที่เมืองเชียงราย นำไปสู่การเรียนรู้และเข้าใจบริบทพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาโอกาสสร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด สู่การนำข้อมูลไปใช้วางแผนขับเคลื่อนการเสริมสร้างศักยภาพผู้เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาศัยธรรมชาติเป็นฐาน