ร่วมกับทีม SCF ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าโครงการนำร่องครั้งที่ 2 ภาคใต้ 3 จังหวัด

โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดย ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ร่วมกับทีม SCF ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าโครงการนำร่องครั้งที่ 2 ภาคใต้ 3 จังหวัด ในวันที่วันที่ 13-23 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้
  1. วันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 เข้าร่วมประชุมสรุปข้อมูลชุมชนบ้านหลบมุมเพื่อนำข้อมูลทั้งหมดลงแผนที่ GIS
  2. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 ประชุมร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลาวางแผนการลงสำรวจเส้นทางน้ำ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในเมืองหาดใหญ่และสงขลา รวมทั้งวางแผนการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องครั้งที่ 2
  3. วันที่ 15-16 พฤศจิกายน 2566 ลงสำรวจพื้นที่เส้นทางน้ำจากคลองวาด คลองต่ำ คลองหวะ คลองอู่ตะเภา คลอง ร.1 ตลอดเส้นทางจนถึงพื้นที่ทะเลสาบสงขลา  โดยภาพรวมเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของลำน้ำคลองอุ่ตะเภาได้อย่างชัดเจน มีการก่อสร้างที่เน้นโครงสร้างแข็ง ดาดด้วยปูนซีเมนต์ ระบบนิเวศริมคลองเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากจากเมื่อ 10 ปีก่อน  ส่งผลต่อสมดุลน้ำเพราะป่าไม้ริมคลองถูกตัดจากการขุดลอกคลองไม่มีตัวดูดซับน้ำตามธรรมชาติ  และมวลน้ำจะเดินทางมายังปลายน้ำได้เร็วขี้น กระแสน้ำมีความรุนแรง  รูปแบบการท่วมของน้ำในเมืองคาดการณ์ได้ยาก  แผนรับมือเดิมใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินจากพื้นที่รับน้ำเป็นบ้านจัดสรร  แต่มุมมองของผู้คนในเมืองหาดใหญ่มีความมั่นใจว่า คลอง ร .1 สามารถช่วยแก้ปัญหาได้  แต่เมื่อพิจารณาศักยภาพของคลองและปริมาณฝนที่ตกในช่วงที่ลงสำรวจที่มีปริมาณน้อยกว่าปี 2553 แต่น้ำในคลอง ร.1 นั้นมีมากถึง ¾ ของคลอง เป็นข้อสังเกตุและกังวลของนักวิชาการว่าหากมีฝนที่ตกในปริมาณเทียบเท่ากับปี 2553 คลอง ร. 1 จะไม่สามารถรับน้ำและระบายได้ทันอย่างที่ทางวิศวกรได้คำนวนไว้
  4. วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 แลกเปลี่ยนระบบข้อมูลพื้นที่เมืองพะตง ณ อนามัยเฉลิมพระเกียรติ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  5. วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566 แลกเปลี่ยนระบบข้อมูลพื้นที่เมืองบ่อยาง และลงสำรวจสถาณการณ์กัดเซาะชายฝั่งพื้นที่ม่วงงาม
  6. วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ลงสำรวจพื้นที่รับน้ำทะเลน้อยและแหล่งต้นน้ำห้วยขี้ค่างในช่วงน้ำท่วม
  7. วันที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องเพื่อลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพัฒนาการมีส่วนร่วมจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำสายห้วยขี้ค่างนำไปสู่ความเข้มแข็งของกลุ่ม ณ เทศบาลตำบลโตนดด้วน ตำบลโตนดด้วน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 
  8. วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 ติดตามประเมินผลโครงการนำร่อง “พัฒนากลไกภาคีเครือข่ายอนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์คลองละงู” ณ อบต.กำแพง อ.ละงู จังหวัดสตูล
  9. วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 8.30-12.00 น.ติดตามประเมินผลโครงการนำร่อง ประชุมคณะกรรมการเมืองโครงการเสริมสร้างองค์กรชุมชนเข้มแข็งเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองบ่อยาง ณ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
  10. วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 - 16.00 น. ติดตามประเมินผลโครงการนำร่อง ประชุมกรรมการโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองพะตง ณ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  11. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.ณ ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายความร่วมมือเมืองปาดังเบซาร์ ห้องประชุมเทศบาลเมืองปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
  12. วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566  เวลา 13.00 - 16.00 น.ติดตามประเมินผลโครงการนำร่องประชุมคณะกรรมการพัฒนากลไกความร่วมมือระดับเมือง ณ เทศบาลเมืองควนลัง ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
 

โดยภาพรวมโครงการนำร่องฯ ปฏิบัติงานได้ตามแผนและกำลังเข้าสู่ช่วงสุดท้ายในการคืนข้อมูลสู่ชุมชน นำข้อมูลเข้าสู่การหารือทำกติกา/แผนรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาเมืองร่วมกัน  อีกทั้งพยายามผลักดันให้เกิดกลไกการทำงานในระดับเมือง จัดตั้งเป็นคณะกรรมการเมือง ต่อไป