“8 เมืองที่ยั่งยืนที่สุดในโลก” สำรวจเมืองยุคใหม่ตามเทรนด์โลก


โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก

หลังผ่านยุคสมัยที่ต่างก็พยายามพัฒนาเมืองให้ทันสมัย เข้ามาสู่ยุคของการแสวงหาความยั่งยืนให้แก่ผู้คนและโลกใบนี้ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนคือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่นๆ อย่างสมดุลกัน

หลายฝ่ายให้ความสนใจด้านความยิ่งยืนมากขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งการท่องเที่ยวก็ยังหันมาให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

เว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดัง Lonely Planet จึงพาไปสำรวจ “8 เมืองที่ยั่งยืนที่สุดในโลก”

โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก
โคเปนเฮเกนตั้งเป้าหมายที่จะเป็นเมืองหลวงที่เป็นหลางด้านคาร์บอนแห่งแรกของโลกภายในปี ค.ศ. 2025 ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการที่ก้าวหน้าไปด้วยดี ขยะจากเมืองน้อยกว่า 2% ถูกนำไปฝังกลบ ส่วนที่เหลือถูกนำไปรีไซเคิล หรือเปลี่ยนเป็นพลังงานในโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานแห่งใหม่ของเมือง

การเดินทางภายในโคเปนเฮเกนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยเรือพลังงานแสงอาทิตย์ รถประจำทางไฟฟ้า มีเครือข่ายเส้นทางจักรยาน และมีถนนที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า นอกจากนี้ยังมีการดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่สร้างขยะเพิ่มขึ้น อาทิ ซื้อของที่ตลาดโดยไม่รับถุง หรือเศษอาหารและของเหลือจากร้านอาหารถูกเปลี่ยนเป็นปุ๋ยสำหรับการปลูกผักออร์แกนิกของร้าน

พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
พอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา
พอร์ตแลนด์เป็นเมืองสำหรับผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้ง มีการวางผังเมืองอย่างดี สวนสาธารณะและป่าไม้ในเมืองที่ได้รับการดูแลอย่างดี เป็นเมืองที่เป็นมิตรกับคนเดินเท้า และมีอัตราการขี่จักรยานไปทำงานมากกว่าเมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกา

ที่พอร์ตแลนด์ ความยั่งยืนเป็นเรื่องของชุมชน มีตู้กำจัดขยะ มีร้านอาหารมังสวิรัติ การจัดเวิร์กชอปซ่อมบำรุงต่างๆ และคนในพื้นที่เน้นลดการสร้างขยะ ใช้ซ้ำ และการนำกลับมารีไซเคิล

สิงคโปร์
สิงคโปร์
สิงคโปร์
สิงคโปร์
สิงคโปร์
ด้วยจำนวนประชากรที่หนาแน่นและเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขยะของสิงคโปร์จึงเพิ่มจำนวนตามไปด้วย สถานที่ฝังกลบขยะแห่งเดียวในสิงคโปร์จึงถูกคาดว่าจะเต็มในปี ค.ศ.2035 สิงคโปร์จึงมีความพยายามที่จะเสาะหานวัตกรรมที่ช่วยในการจัดการสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืน จึงทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองที่มีความยั่งยืนที่สุกในเอเชียในปี 2018

สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น Garden by the Bay, Jewel Changi และ Marina One จึงได้รับการออกแบบให้คำนึงถึงความยั่งยืนในอนาคต และภายในปี 2030 สถาปัตยกรรมในเมืองราว 80% จะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความพยายามเปลี่ยนวิธีการซื้อสินค้าของชาวสิงคโปร์โดยเน้นการไม่สร้างขยะ รวมไปถึงการจัดการระบบแฟชั่นอย่างยั่งยืน มีการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าระหว่างสมาชิก (แต่ก็ยังสามารถซื้อได้ด้วยเงินสด)

ลิสบอน, โปรตุเกส
ลิสบอน, โปรตุเกส
ลิสบอน, โปรตุเกส
ลิสบอน, โปรตุเกส
ลิสบอน, โปรตุเกส
ลิสบอนเป็นเมืองหลวงสีเขียวของคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปในปี 2020 มีการเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะอีก 300 เอเคอร์ให้กับเมือง ซึ่งหมายถึง 85% ของคนในเมืองลิสบอนนั้นมีพื้นที่สีเขียวอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยไม่เกิน 300 เมตร มีความพยายามสนับสนุนให้ใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า โดยเพิ่มจุดชาร์ตรถยนต์ จักรยาน จักรยานยนต์ และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า มีรถประจำทางไฟฟ้าขบวนใหม่ และแม้แต่รถตุ๊กตุ๊กสำหรับนักท่องเที่ยวก็ยังใช้ไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2017

เบงกาลูรู, อินเดีย
เบงกาลูรู, อินเดีย
เบงกาลูรู, อินเดีย
เบงกาลูรู, อินเดีย
เบงกาลูรู, อินเดีย
เป็นเมืองที่บริษัททางเทคโนโลยีมีส่วนร่วมในการสัญจรอย่างมาก เช่น การเปิดให้เช่าสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า หรือกิจกรรมคาร์พูลเพื่อลดความแออัดของการจราจรในเมือง

นอกจากนี้ เทรนด์การใส่ใจสิ่งแวดล้อมก็กำลังเติบโตด้วยเช่นกัน สามารถเลือกซื้อของที่ปราศจากบรรจุภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ความงามที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เข้าพักโฮสเทลที่คำนึงภึงสิ่งแวดล้อม มีบริการจักรยานให้เช่า ตกแต่งสวนบนระเบียงด้วยวัสดุรีไซเคิล

แวนคูเวอร์, แคนาดา
แวนคูเวอร์, แคนาดา
แวนคูเวอร์, แคนาดา
แวนคูเวอร์, แคนาดา
แวนคูเวอร์, แคนาดา
ที่แวนคูเวอร์ มีการปลูกต้นไม้กว่า 122,000 ต้น ตั้งแต่ปี 2010 (มีการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 150,000 ต้น) มีการปลดปล่อยมลพิษต่ำที่สุดในอเมริกาเหนือ และตั้งเป้าที่จะลดขยะให้หมดภายในปี 2040 ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากการขายของในร้านค้าและร้านกาแฟต่างๆ

มีการริเริ่มโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายอย่าง เช่น การร่วมมือกันทำความสะอาดพื้นที่ส่วนกลางของชุมชน มีห้องสมุดสาธารณะที่มีหลังคาสีเขียว ช่วยเรื่องการควบคุมอุณหภูมิในอาคาร บนดาดฟ้าอาคารมีแผงโซลาร์เซล และการจัดสวนพืชพื้นเมืองทนแล้ง มีทางเดินริมน้ำที่ยาวที่สุดในโลก ราว 28 กิโลเมตร เชื่อมต่อพื้นที่สวนสาธารณะหลายแห่งของเมือง


ลูบลิยานา, สโลวีเนีย
ลูบลิยานา, สโลวีเนีย
ลูบลิยานา, สโลวีเนีย
ลูบลิยานา, สโลวีเนีย
ลูบลิยานา, สโลวีเนีย
สโลวีเนียเป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของชนบทที่บริสุทธิ์ แม้แต่ในเมืองหลวงก็ยังมีอากาศบริสุทธิ์ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ลูบลิยานามีความสะอาดและความเขียวขจี ใจกลางเมืองเป็นทางเท้า มีระบบการจัดการขยะที่ทันสมัย ทำให้เมืองนี้มีขยะที่ต้องถูกฝังกลบน้องกว่าในปี 2008 ถึง 80% และมีเป้าหมายที่จะลดขยะให้เหลือเพียง 60 กิโลกรัม/คน/ปี ภายในปี 2025

ลูบลิยานาเป็นเมืองแรกในยุโรปที่มีเป้าหมายขยะเป็นศูนย์ บริษัทกำจัดขยะของเมืองดำเนินการเครื่องหยอดเหรียญที่ไม่มีขยะ ซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด แชมพู น้ำมันออร์แกนิก สำหรับลูกค้าที่นำบรรจุภัณฑ์เก่ามาเติม

ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ซานฟรานซิสโก เป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกาที่ห้ามใช้ถุงพลาสติกและหลอด และเครื่องใช้พลาสติกเป็นสิ่งผิดกฎหมายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2019 เมืองนี้ส่งขยะไปฝังกลบน้อยกว่าที่อื่นๆ ในประเทศ โดย 80% ของขยะที่นี่ถูกนำไปรีไซเคิล ทำปุ๋ยหมัก หรือนำกลับมาใช้ใหม่

ที่ซานฟรานซิสโกจะได้พบกับร้านอาหารที่ทำจากพืชมากมาย และถนนหนทางในเมืองยังน่าเดินเล่น จนติดอันดับเมืองที่น่าเดินเล่นที่สุดเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่Youtube :Travel MGR


ที่มา MGRonline