การรับมือสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวกล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับผู้บริหารระดับกลาง I-leader


24 พฤษภาคม 2567: ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ Executive Summary on Sustainable Development and Role to top management (SDGs, ESG, Carbon Managment and Resiliance skill) ในหลักสูตรอบรมผู้บริหารระดับกลาง I-leader ณ ห้องอบรมชั้น 19 อาคาร 6 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

ในการบรรยายครั้งนี้ ดร.วิจารย์ ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทั่วโลก ภาวะโลกร้อนกำลังเกิดขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ ซึ่งเป็นผลมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การตัดไม้ทำลายป่า และกิจกรรมการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนี้นำไปสู่การละลายของแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกและธารน้ำแข็งทั่วโลก ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้พื้นที่ชายฝั่งและเกาะหลายแห่งเสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วม นอกจากนี้ สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุไต้ฝุ่น น้ำท่วม ภัยแล้ง และคลื่นความร้อนเกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของไทย แม้ว่าหลายเป้าหมายจะมีแนวโน้มการพัฒนาที่ดีขึ้น แต่เป้าหมายที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม (SDG 13, 14, 15) ของไทยกลับเผชิญกับความท้าทายการถดถอยในการจัดการปัญหามลพิษ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการอนุรักษ์ป่าไม้และการปกป้องทรัพยากรทางทะเล ดังนั้น ผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้องมีเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งเครื่องในการแก้ปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งหมายให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2566

ผ่านกลไกสำคัญ เช่น แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ระบบซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ระบบภาษีคาร์บอน และคาร์บอนเครดิต 2) ระบบซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นกลไกทางตลาดที่มุ่งควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านกลไกรการกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจัดสรรสิทธ์การปล่อยขององค์กร และระบบซื้อขายสิทธิ์การปล่อยก๊าซในกรณีที่องค์กรมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกำหนด 3) ESG (Environmental Social Govermance) คือ เป็นกรอบการวิเคราะห์ที่ใช้ประเมินผลประกอบการของบริษัท โดยพิจารณาจากประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล นอกเหนือจากผลประกอบการทางการเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งช่วยให้บริษัทมีกลยุทธ์และแผนระยะยาวที่ชัดเจน คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้มีส่วนได้เสีย ส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจ

โดยการบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและความรู้ให้แก่ผู้บริหารระดับกลางที่พร้อมจะเติบโต ไปเป็นผู้ บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนรัฐวิสาหกิจคณาจารย์และศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ มก. ให้มีความรู้ด้านวิศวกรรม สำหรับผู้บริหารด้านต่างๆ เช่น ด้านเทคโนโลยี ด้านอุตสาหกรม ด้านโลจิสติกส์ และด้านพลังานและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการจัดอบรมสัมมนายังเป็นการ เสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม