19-28 สิงหาคม 2567 โครงการ SUCCESS สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา (SCF) ศูนย์ประชาสังคมและการจัดการองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (CSNM) ทำการลงพื้นที่ถอดบทเรียนโดยการสัมภาษณ์ตัวแทนแกนนำทีมโครงการนำร่องทั้ง 7 โครงการ โดยมีเนื้อหาสาระดังนี้
ข้อควรคำนึงถึงการหนุนเสริมการทำงานใก้แก่ภาคประชาสังคมในพื้นที่
- เครื่องมือที่ง่ายเป็นรูปธรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ต้องเข้าถึงง่าย เพราะในชุมชนมีหลายระดับองค์ความรู้ เครื่องมือต้องมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทผู้ใช้งานในพื้นที่
- เงื่อนไขในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี ต้องมีหลายกลไกในการหนุนเสริมทั้งที่ไม่เป็นทางการ กึ่งทางการ และแบบเป็นทางการ เพื่อให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ (แพคเกจกระบวนการหนุนเสริมเฉพาะพื้นที่)
ปัจจัยความสำเร็จการหนุนเสริมภาคประชาสังคมเข้มแข็ง...เชื่อมร้อยเครือข่ายแบบพหุภาคี
- การได้มาซึ่งข้อมูลจากชุมชนอย่างแท้จริง หนุนเสริมเติมพลังความมั่นใจให้ชุมชน สร้างตัวตนจากข้อมูล เป็นเจ้าของปัญหา เจ้าของพื้นที่ และชุมชนเองต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกแนวทางในการแก้ไขปัญหา
- กระบวนการที่เปิดเวทีให้พุดคุยอย่างมีส่วนร่วม ลดร้อยร้าว ปิดรอยต่อ เชื่อมประสานความสัมพันธ์
- เปิดเวทีพื้นที่สาธารณะตรงกลาง ได้แสดงความเห็นอย่างมีส่วนร่วม การมีเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน นำมาสู่การสร้างเครือข่ายที่ค่อยๆ เติบโตและเข้มแข็ง พร้อมร่วมตัวและผลักดันต่อยอดเพื่อหาทางแก้ปัญหาต่างๆ ในเมืองร่วมกันได้
จากข้อมูลแท้จริงในพื้นที่...สร้างความมั่นใจละลดความขัดแย้ง...การเปิดเวทีรับฟังแลกเปลี่ยนอย่างมีส่วนร่วม...เกิดเป็นเครือข่ายที่เข็มแข้งจากฐานของชุมชนผู้เป็นเจ้าของปัญหา...นำสู่การเป็นชุมชนที่ตื่นรู้ ตระหนัก เตรียมตัว และพร้อมรับมือกับทุกปัญหาและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
Share: