หน้าหลัก
รู้จัก ม.ส.ท.
ภาพรวม ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
รู้จัก ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
งานของเรา
กลุ่มงานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
งานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
คลังความรู้
แหล่งรวมความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
คลังความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
กิจกรรมข่าวสาร
ข่าวสารความเคลื่อนไหว
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมข่าวสาร
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
ร่วมงานกับเรา
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ร่วมงานกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ติดต่อเรา
กิจกรรมข่าวสาร
กิจกรรมของเรา
...
บทบาทของท้องถิ่นกับการใช้ประโยชน์และบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
15-18 ตุลาคม 2567 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) นำโดย คุณพวงผกา ขาวกระโทก ผู้จัดการโครงการ และคณะนักวิจัย โครงการ Urban Resilience Building and Nature รวบรวมข้อมูลสถานการณ์ สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของชุมชนรอบพื้นที่ชุ่มน้ำ ความหลากหลายของชนิดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ คุณค่าและการใช้ประโยชน์ ภัยคุกคาม และบทบาทหน้าที่ท้องถิ่น ที่มีขอบเขตความรับผิดชอบในพื้นที่ชุ่มน้ำ ทั้งในระดับความสำคัญแรมซาร์ไซต์ นานาชาติ ชาติ และท้องถิ่น ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จากการเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่า หน่วยงานในระดับท้องถิ่นส่วนใหญ่มีพื้นที่รับชอบบางส่วนอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่และพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดเล็กในลักษณะลำคลองที่เป็นระบบนิเวศน้ำไหล น้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติของการหนุนของน้ำทะเล ปัจจุบันยังคงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร และชุมชนโดยรอบสามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ปาล์มน้ำมันและพืชผักสวนครัวริมน้ำ การทำประมงพื้นบ้านเพื่อการบริโภค การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว นันทนาการ และกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งปัจจุบันยังคงมีทรัพยากรและความหลากหลายของพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ที่เพียงพอต่อความต้องการและการใช้ประโยชน์ของชุมชน ในขณะที่ยังคงพบภัยคุกคามที่อาจส่งผลให้พื้นที่ชุ่มน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ได้แก่ การบุกรุกและขยายพื้นที่เกษตร ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง มลพิษที่เกิดจากน้ำเสียชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่มีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ อาทิ การกัดเซาะและพังทลายของริมตลิ่งที่เกิดจากการไหลของน้ำและการหนุนของน้ำทะเลในช่วงน้ำหลาก และการเกิดภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปี 2566 ที่ผ่านมา เกือบทุกพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง
ทั้งนี้ ท้องถิ่น มีการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตท้องที่ที่รับผิดชอบเป็นประจำ โดยเฉพาะการขุดลอกวัชพืชและดินโคลนที่ทำให้แหล่งน้ำเกิดการตื้นเขินและเน่าเสีย การทำแนวป้องกันน้ำกัดเซาะริมตลิ่ง การเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำของพื้นที่ชุ่มน้ำ และการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำให้สามารถเป็นแหล่งนันทนาการ แหล่งเรียนรู้ และการใช้ประโยชน์ของชุมชนให้มากขึ้น เพื่อให้ชุมชนเกิดความตระหนัก หวงแหน และช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำให้ยังคงอุดมสมบูรณ์ ซึ่งหลายท้องถิ่นมีการนำมาตรการ Nature-based Solutions (NbS) หรือการแก้ปัญหาโดยอาศัยธรรมชาติเป็นฐาน มาบูรณาการปรับใช้ในพื้นที่ รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาเมืองและแหล่งธรรมชาติให้มีความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างยั่งยืน
Share:
แชร์
Tweet
Tags:
การปรับตัวของเมือง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
พื้นที่ชุ่มน้ำ
ม.ส.ท.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สิ่งแวดล้อม
Share: