หน้าหลัก
รู้จัก ม.ส.ท.
ภาพรวม ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
รู้จัก ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
งานของเรา
กลุ่มงานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
งานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
คลังความรู้
แหล่งรวมความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
คลังความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
กิจกรรมข่าวสาร
ข่าวสารความเคลื่อนไหว
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมข่าวสาร
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
ร่วมงานกับเรา
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ร่วมงานกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ติดต่อเรา
กิจกรรมข่าวสาร
กิจกรรมของเรา
...
สื่อสาร ขยายความรู้ ขับเคลื่อน กรอบยุทธศาสตร์ฟ้าใสความร่วมมือและกิจกรรมลดการเผาในพื้นที่นำร่องท่าขี้เหล็ก ร่วมกับกับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ประเทศเมียนมา
24 เมษายน 2567 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา: อำเภอท่าขี้เหล็ก จังหวัดเชียงตุง รัฐฉาน ของเมียนมา พบว่ามีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจและการบริโภค อาทิ ข้าวนาปี ข้าวโพดหลังฤดูการเก็บเกี่ยวพบว่ามีการใช้ประโยชน์เป็นส่วนน้อยและเผาทิ้งเป็นส่วนใหญ่เกิดไฟไหม้ป่าในช่วงฤดูแล้งคล้ายกับประเทศไทย ชุมชนในพื้นที่ดังกล่าว มีการประสานความร่วมมือลดการเผา หยุดเผา สนับสนุนผ่านคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นเมียนมา-ไทย มาเป็นระยะ หลายส่วนเริ่มตระหนักและปรับตัวในการจัดการเพื่อลดการเผา ปี2566 ที่ผ่านมา หน่วยงานรับรูู้ได้ว่ามีผลและความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
โครงการพัฒนาความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา ขับเคลื่อนการจัดการและลดมลพิษหมอกควันข้ามแดน โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย นำโดยคณะที่ปรึกษา ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ด้านมลพิษหมอกควันข้ามแดน รศ.ดร.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร ด้านรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง คุณเบญจมาส โชติทอง ด้านนโยบายและแผนงาน คุณวิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการฯ ดร.จีรนุช ศักดิ์คำดวง ผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ และคณะนักวิจัยร่วมกับ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการยุทธศาสตร์ฟ้าใส สู่แผนปฏิบัติการความร่วมมือแก้ไขปัญหาและลดหมอกควันข้ามแดนเพื่อถ่ายทอดและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจต่อแนวนโยบายไตรภาคี แลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์การจัดการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ให้ยกระดับเป็นแนวกิจกรรม (Action Lines) เป็นแผนปฏิบัติการ ในส่วนของพื้นที่นำร่องของประเทศเมียนมา ให้เกิดการทำงานเชิงรุกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้มากขึ้น ทั้งในระดับนโยบายและในระดับพื้นที่ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ เมียนมาจำนวน 20 คน เข้าร่วมในการอบรมครั้งนี้
โดยได้มีการกล่าวความสำคัญของกรอบความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา ยุทธศาสตร์ฟ้าใสสู่แผนปฏิบัติการร่วม (2567-2573) โดย ดร. สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนาในด้านภาพรวมของสถานการณ์และปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ยุทธศาสตร์สำคัญของแผนงานอาเซียนปลอดหมอกควัน ฉบับที่ 2 (2566-2573) และกลยุทธ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส
แนวปฏิบัติดีและการจัดการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
ดังนั้นแนวปฏิบัติที่ดีกรณีต้นแบบการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่สูงของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) โดยนายวิธิวัต มันกระโทก นักวิชาการส่งเสริมและพัฒนา 5 ว่าสถาบันฯได้ใช้แนวการแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่นควันบนพื้นที่สูง เพื่อลดปัญหาความยากจนของประชาชนบนพื้นที่สูง ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาการเกิดไฟป่าจากการเผาทางการเกษตร พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ตลอดจนร่วมระดมความคิดเห็น ในด้านสถานการณ์ปัญหาหมอกควันข้ามแดน แนวทางปฏิบัติ/กิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการลดการเผาในพื้นที่ และหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานลดมลพิษหมอกควัน
ในด้านการดำเนินงานโครงการเพื่อพัฒนาความร่วมมือให้ืเกิดการลดการเผากับประเทศเพื่อบ้าน คุณวิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการ ได้กล่าวเสริมว่า การดำเนินการโครงการฯ นี้มีความท้าทายหลายประการด้วย แม้ว่าปัญหาการเกิดไฟทั้งในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรจะพบแหล่งกำเนิดที่ชัดเจน แต่ก็ยังมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงโดยตรงกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ การมีและบังคับใช้กฎหมาย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขีดความสามารถในการรับมือกับปัญหาที่แตกต่างกัน ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการผลักดันให้เกิดการทำงานข้ามพรมแดนในพื้นที่นำร่องในเมียนมาซึ่งไม่ได้ง่ายนักให้เกิดการลดการเผาหรือปรับเปลี่ยนระบบเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการลดสาเหตุของการเกิดหมอกควันข้ามแดน แต่ด้วยความร่วมมือและตอบรับที่ดีจากภาคีต่างๆ จะเป็นพลังสำคัญให้เกิดการผลักดันการจัดการลดและแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมร่วมกันได้ในโอกาสต่อไป
พร้อมนี้ รศ.ดร.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร ที่ปรึกษาโครงการด้านรัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง ได้ให้ข้อคิดเห็นเสริมถึงความร่วมมือข้ามชาติระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเกินขอบเขตของประเทศ ดังนั้น *การแบ่งปันข้อมูล* จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อสร้างกลไกสำหรับการแบ่งปันข้อมูลแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับเหตุการณ์มลพิษที่เกิดขึ้น เช่น ข้อมูลคุณภาพอากาศ จุดเผาไหม้ และสถานการณ์อากาศ เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติการตอบสนองอย่างสอดคล้อง *การมีแผนการดำเนินการร่วมกัน:*พัฒนาแผนการดำเนินการร่วมกันระหว่างรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อปรับปรุงนโยบาย แบ่งปันทรัพยากร และประสานกลยุทธ์การตอบสนองสำหรับการลดมลพิษ*การช่วยเหลือร่วมกัน:*สร้างข้อปฏิบัติสำหรับการช่วยเหลือและสนับสนุนร่วมกันในกรณีฉุกเฉินที่เกี่ยวกับมลพิษ เช่นการแบ่งปันอุปกรณ์ดับเพลิง บุคลากร และความเชี่ยวชาญข้ามพรมแดน ตลอดจน *การสนับสนุนและการทูต:* ร่วมมือในการพยายามสนับสนุนและการทูตเพื่อแก้ไขปัจจัยพื้นฐานที่มีส่วนร่วมในการสร้างมลพิษ เช่นการใช้ที่ดินที่ไม่ยั่งยืนและกิจกรรมผลิตมลพิษข้ามชาติ
Share:
แชร์
Tweet
Tags:
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเผาที่โล่ง
การแก้ปัญหาบนฐานธรรมชาติ
ก๊าซเรือนกระจก
ม.ส.ท.
มลพิษ
มลพิษทางอากาศ
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สิ่งแวดล้อม
อนามัย
โลก
โลกร้อน
ไฟป่า
Share: