สำรวจและศึกษาการอนุรักษ์ป่าชายเลนและป้องกันการกัดเซาะเพื่อร่วมกันส่งเสริมปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าชายเลนที่มีระบบนิเวศที่สมบูรณ์

17 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย คุณวิลาวรรณ น้อยภา ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ และเจ้าหน้าที่ CSS สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทีม CSR ของ Western digital ร่วมการสำรวจ เรียนรู้วิถี ระบบนิเวศป่าชายเลน และการปลูกต้นโกงกางดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมของเจ้าหน้าที่ Western digital  ณ พื้นที่ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงครามในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้

การอนุรักษ์=รักษาหม้อข้าวใบใหญ่  แนวคิดนี้ได้ถูกหยิบยกโดยแกนนำชุมุชน เพื่อช่วยกันปกป้องต่อสู่กับแนวการกัดกัดเซาะชายฝั่งและป่าหดหายไปจำนวนมากในอดีต ซึ่งส่งผลอาชีพและรายได้ลดน้อยลง แกนนำและชุมชนจึงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบางแก้วขึ้น  จากการร่วมกันฟื้นฟู ทำแนวป้องกัน โดยใช้วิธีการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ปลูกป่าเพิ่มมากกว่า 15 ปีอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้ป่าชายเลน ตะกอนเลน เริ่มสะสมและฟื้นตัว ป่าสมบูรณ์ รวมพื้นที่กว่า 200 ไร่  ปัจจุบันยกระดับเป็นโรงเรียนธรรมชาติป่าชายเลนบางแก้ว เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาธรรมชาติ ระบบนิเวศป่าชายเลนสำหรับภาครัฐ เอกชน ประชาชน สถาบันการศึกษาเข้าเรียนรู้และมีส่วนร่วมและเป็นรายได้เสริมให้ชุมชน 

เพราะป่ามีความสำคัญ จึงต้องให้ความสำคัญและสนับสนุนการปลูกต้นไม้ ปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นพื้นที่ป้องกันภัยธรรมชาติ กักเก็บคาร์บอนลดก๊าซเรือนกระจก และแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ