ACCCRN

เครือข่ายเมืองในเอเชีย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Asian Cities Climate Change Resilience Networks

หาดใหญ่

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลหาดใหญ่

1. ข้อมูลทั่วไป


พื้นที่

21   ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต ทิศเหนือ            ติดต่อทางรถไฟไปกรุงเทพมหานคร
ทิศตะวันออก      ขนานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 407
ทิศตะวันตก        ติดต่อคลองต่ำและคลองอู่ตะเภา
ทิศใต้                ติดต่อทางรถไฟไปสุไหงโก-ลก และคลองอู่ตะเภา

ลักษณะทางกายภาพ

ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งกะทะ มีคลองอู่ตะเภาไหลมาจาก อ.สะเดาทางใต้ขนาบอยู่ทางทิศตะวันตก ทิศเหนือเป็นราบลุ่มกว้างทอดตัวไปจนจบทะเลสาบสงขลา ลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้นครหาดใหญ่ต้องประสบปัญหาอุทกภัยอยู่เสมอ จากปริมาณน้ำที่ไหลบ่ามาจากทิศใต้และทิศตะวันออกเพื่อลงสู่ทะเลสาบทางด้าน เหนือ แนวทางรถไฟที่ผ่านกลางเมืองตามแนวเหนือใต้ และถนนสายสำคัญหลายสายเป็นคันยกสูงทำให้น้ำไหลผ่านไปได้ยาก

ลักษณะภูมิอากาศ

อากาศร้อนและฝน  โดยอากาศจะไม่ร้อนจัดในฤดูร้อนและอบอุ่นในช่วงฤดูฝน
อุณหภูมิเฉลี่ยไม่สูงมาก ส่วนในฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นเป็นบางครั้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.6 OC

จำนวนชุมชน

53   ชุมชน

จำนวนหลังคาเรือน

55,452 หลังคาเรือน

จำนวนประชากร

157,682 คน

ความหนาแน่น

7,509 คน/ตารางกิโลเมตร

 

hatyai-map

Map of Had Yai City
(Source: Google Earth)

 

2. ด้านเศรษฐกิจ

ในเขตเทศบาลส่วนใหญ่จะทำด้านการค้า ซึ่งมีทั้งขายปลีกและขายส่ง ปัจจุบันกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีการสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง เพื่อจำหน่ายสินค้าสำเร็จรูป ส่วนอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การรมควันยาง โรงน้ำแข็ง ปลาป่น แปรรูปไม้ โรงสีข้าว และอื่น ๆ อุตสาหกรรมสำคัญอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมจากเทศบาล และมีการตอบสนองเป็นอย่างดีจากภาคเอกชน คือ การท่องเที่ยว ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง เป็นต้นว่า โรงแรม บริการนำเที่ยว บาร์ ไนท์คลับ ห้องอาหาร และบริการอื่น ๆ  นอกจากนี้การกสิกรรมเป็นอาชีพสำคัญมากชนิดหนึ่ง แต่จะดำเนินการแต่เพียงรอบนอกเขตเทศบาลเป็นส่วนใหญ่

 

3. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการ

3.1 การคมนาคมหาดใหญ่เป็นศูนย์กลางการคมนาคม ทางบก มีระบบคมนาคมขนส่งที่เอื้ออำนวยและเชื่อมโยงกับจังหวัดและอำเภอใกล้เคียง มีเส้นทางซึ่งเป็นถนนทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญผ่านเมือง เชื่อมเมืองสงขลาทางทิศเหนือและประเทศมาเลเซียทางทิศใต้ และในส่วนของการคมนาคมทางอากาศ มีสนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร นอกจากนี้ หาดใหญ่ยังเป็นชุมทางรถไฟสำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้  ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา3.2 การประปา

เทศบาลนครหาดใหญ่ได้ใช้บริการประปาจากสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ปัจจุบันครอบคลุม พื้นที่ทั้งหมดของเทศบาลนครหาดใหญ่

 3.3 การศึกษา

เทศบาลนครหาดใหญ่  ดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการจัดการศึกษาในระบบ  เทศบาลได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง และโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่  6 แห่ง มีการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษา 2 แห่ง  สอนเฉพาะอนุบาล 1 แห่ง และส่วนที่เหลือสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา  นอกกจากนี้ ยังมีสถาบันการศึกษาทุกระดับตั้งแต่มหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคอหงส์ และมีวิทยาลัยอาชีวศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สายสามัญ และสายอาชีพ ทั้งของรัฐและเอกชนมากมาย จึงจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าทางการศึกษาสูงมาก ในส่วนของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน  ได้สนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบในทุกรูปแบบ เช่น การจัดหอศิลป์นครหาดใหญ่ ห้องสมุดประชาชน เป็นต้น

 3.4 การสาธารณสุข

สถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่  มี   106   แห่ง   ประกอบด้วย   โรงพยาบาล 7 แห่ง เป็นโรงพยาบาลรัฐ 3 แห่ง  ศูนย์บริการสาธารณสุขซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาล 15  แห่ง และคลินิกเอกชนอีก 87 แห่ง  การให้บริการด้านการรักษาพยาบาลอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

 3.5 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เทศบาลนครหาดใหญ่มีหน่วยดับเพลิงอยู่ 5 หน่วย กระจายอยู่รอบเมือง ประกอบด้วย

    • หน่วยที่ 1 เป็นหน่วยใหญ่ ตั้งอยู่ที่ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1 ซอย 7
    • หน่วยที่ 2 ตั้งอยู่ถนนสามชัย (รับผิดชอบพื้นที่ทิศตะวันออกของเมือง)
    • หน่วยที่ 3 ตั้งอยู่ที่ชุมชนโชคสมาน (รับผิดชอบพื้นที่หาดใหญ่ในด้านทิศเหนือ
    • หน่วยที่ 4 ตั้งอยู่ถนนเพชรเกษม ใกล้ห้องสมุดประชาชน  (รับผิดชอบพื้นที่หาดใหญ่ในด้านทิศตะวันตก)
    • หน่วยที่ 5 ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านจันทร์วิโรจน์ (รับผิดชอบด้านทิศใต้ของเมือง
      1. รถยนต์ดับเพลิง/รถยนต์บรรทุกน้ำ
      2. รถยนต์ดับเพลิงชนิดบันได/กระเช้า
      3. รถบันได
      4. รถยนต์กู้ภัย/ตรวจการณ์
      5. รอกช่วยชีวิต
      6. ถุงหนีไฟ
      7. เบาะลมช่วยชีวิต
      8. เครื่องช่วยหายใจ (B.A.)
      9. หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ
      10. วิทยุสื่อสาร
      11. เรือท้องแบน
      12. เครื่องสูบน้ำชนิดต่าง ๆ
      13. เสื้อชูชีพ
      30 คัน
      2 คัน
      1 คัน
      6 คัน
      4 ชุด
      2 ชุด
      2 ชุด
      25 ชุด
      40 ชุด
      128 เครื่อง(เฉพาะงานป้องกันฯ)
      11 ลำ
      25 เครื่อง
      138 ชุด

นอกจากนี้ เทศบาลนครหาดใหญ่ได้จัดตั้ง “ศูนย์อำนวยการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเทศบาลนครหาดใหญ่” โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯและ คณะทำงานประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักและกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของเทศบาล โดยมีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานระดับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้เคียง เอกชน สื่อมวลชน ในการเฝ้าระวัง ติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และการแจ้งเตือนภัยจากน้ำท่วมอีกด้วย

 

4. ด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

            4.1     ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินของเทศบาลนครหาดใหญ่

โดยขนาดและลักษณะนครหาดใหญ่เป็นเมืองที่มีขนาดกระชับตัว (Compact) มาก มีศูนย์กลางเมืองแห่งเดียว ขนาดกว้างประมาณ 1 กิโลเมตร ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่ประชิดทางรถไฟ พื้นที่เมืองส่วนใหญ่ขยายตัวมาทางทิศตะวันออกมาเกาะอยู่สองฟากของถนนกาญจน วนิช  ทางใต้มีชุมชนเกษตรกรรมขนาดประมาณ 15,000 คน ชื่อบ้านพรุ ตั้งอยู่ระยะห่างจากศูนย์กลางนครหาดใหญ่ประมาณ 10 กิโลเมตรลักษณะของอาคารสิ่งปลูกสร้าง ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นตึกแถว ประกอบการพาณิชยกรรมชั้นล่าง และอยู่อาศัยชั้นบน อาคารลักษณะเดี่ยวมีน้อยและกระจายตัวอยู่ประปราย ไม่เป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นบริเวณ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ชุมชนนครหาดใหญ่กระชับตัวและมีความหนาแน่นสูงมาก ในบริเวณกลางเมืองความหนาแน่นประชากรสูงถึง 20,000 คนต่อตารางกิโลเมตร อาคารส่วนใหญ่จะมีความสูง 2 – 3 ชั้น เว้นแต่ในเขตกลางเมืองที่มีอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงเพิ่มจำนวนขึ้นในลักษณะ ของโรงแรม ธนาคาร และสถานที่ราชการ

4.2     ทรัพยากรป่า สวนสาธารณะ และที่พักผ่อน

เทศบาลได้ดำเนินการจัดสรรพื้นที่สาธารณะให้กระจายอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ปรับปรุงเป็นสวนสาธารระและพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะประกอบด้วย

  • สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ มีพื้นที่ 974 ไร่ ลักษณะเป็นพื้นที่สีเขียวตามธรรมชาติ มีไม้ใหญ่เป็นจำนวนมาก และมีบึงน้ำธรรมชาติ
  • บึงศรีภูวนารถ มีพื้นที่ 6 ไร่
  • สวนสาธารณะหน้าวัดปลักกริม มีพื้นที่ประมาณ  10 ไร่
  • สวนหย่อมท่งเซียเซี่ยงตึ้ง พื้นที่ประมาณ 4 ไร่
  • สวนหย่อมริมคลองเตย พื้นที่ประมาณ 25 ไร

 

สวนหย่อมบึงศรีภูวนาท

สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่

            4.3 ทรัพยากรน้ำ

  • คลอง มีคลองเตยเป็น คลองที่มีความยาวและคดเคี้ยวไปมา เป็นคลองสายเก่าแก่ที่สุดของนครหาดใหญ่ เมื่อกว่า 80 ปีก่อน คลองเตยยังเป็นคลองน้ำลึกและกว้างมาก มีพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ล้มลุกและไม้ยืนต้น มีสัตว์น้ำต่างๆ เช่น ปลา ตะพาบน้ำเต่า หอยโข่ง และอื่นๆ อาศัยอยู่มากมาย ส่วนริมฝั่งคลองเตยทั้ง 2 ฝั่ง ปัจจุบันตื้นเขินและไม่สามารถสัญจรได้ นอกจากนี้ยังมีคลองอู่ตะเภา อยู่ ทางทิศตะวันตกยาวประมาณ 15 กิโลเมตร มีปริมาณน้ำมากตลอดทั้งปี ใช้เป็นเส้นทางสัญจรได้ ในสมัยก่อนบริเวณแถบริมคลองอู่ตะเภามีลักษณะเป็นหาดทรายใหญ่ ปัจจุบันไม่มีหาดทรายหลงเหลืออยู่เลย เพราะได้นำทรายไปใช้ประโยชน์จนหมดสิ้น.
  • แก้มลิง เทศบาลได้มีการดำเนินการจัดทำแก้มลิง เพื่อเป็นแหล่งรองรับน้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อช่วยป้องกันและบรรเทาปัญหาน้ำท่วม

สภาพของคลองเตยในปัจจุบัน

 

5. การจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม

            5.1     อากาศ
เทศบาลนครหาดใหญ่ประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศจากยานพาหนะเป็นหลัก และจากหมอกควันที่เกิดจากไฟป่าซึ่งมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติ บริเวณเทศบาลนครหาดใหญ่ของกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2551ไม่พบ สารมลพิษ คือ ก๊าซโอโซน (O3) ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เกินเกณฑ์มาตรฐาน

            5.2     น้ำและระบบบำบัดน้ำ  
เทศบาลนครหาดใหญ่ ได้ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียรวมเทศบาลนคร หาดใหญ่ มีพื้นที่ประมาณ 2,040 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่การให้บริการ 21 ตารางกิโลเมตรในเขตเทศบาล โดยครอบคลุมย่านธุรกิจการค้าและแหล่งชุมชนทั้งหมดในเขตเทศบาลประมาณ 80% โดยระบบรวบรวมน้ำเสียที่ก่อสร้าง ออกแบบให้รับได้ทั้งน้ำฝนแบะน้ำเสียจากบ้านเรือนพาณิชยกรรม และแหล่งกำเนิดน้ำเสียอื่นๆ เพื่อรองรับไม่น้ำเสียไหลลงสู่คลองเตย และคลองอู่ตะเภา ท่อรวบรวมน้ำเสียมีความยาวรวมทั้งสิ้น 24.5 กิโลเมตร ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้เป็นระบบบ่อปรับเสถียร (Stabilization Pond) ร่วมกับการใช้บึงประดิษฐ์ (Constructed Wetland) โดยอาศัยกลไกธรรมชาติช่วยในการปรับสภาพน้ำเสียให้มีคุณภาพดีขึ้น ทำให้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูง และเครื่องจักรกลมากนัก จึงไม่สิ้นเปลืองพลังงานและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

 

ระบบบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครหาดใหญ่

           5.3    การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และรางระบายน้ำ

 

พื้นที่ฝังกลบขยะของเทศบาลนครหาดใหญ่

เทศบาลนครหาดใหญ่มีการจัดเก็บขยะมูลฝอย โดยว่าจ้างเอกชนเก็บขนจำนวน 2  เขตพื้นที่ และเทศบาลดำเนินการเองจำนวน 2 เขตพื้นที่  มีรถเก็บขนทั้งสิ้น 70 คัน โดยในปี 2550 ปริมาณขยะมูลฝอยเฉลี่ยที่เกิดขึ้นภายในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีประมาณ 176.44 ตัน และเพิ่มขึ้นเป็น 192.29 ตัน/วัน ในปี 2551 การกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาล ใช้ระบบกำจัดขยะแบบฝังกลบอย่างถูกหลังสุขาภิบาล บนพื้นที่ 100 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองควนลัง ใช้งานมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี ซึ่งไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เทศบาลจึงได้จัดหาพื้นที่ฝังกลบเพิ่มเติม ซึ่งอยู่ในเขตของ อบต.ห้วยขมิ้น อย่างไรก็ตาม เทศบาลยังไม่สามารถใช้พื้นที่ดังกล่าว ได้เรื่องจากได้รับการต่อต้านจากชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง เทศบาลจึงมีแนวคิดที่จำดำเนินโครงการสร้างเตาเผาขยะ (250 ตัน/วัน) โดยสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าและปุ๋ยได้นอกจากนี้ ปัจจุบันเทศบาลยังมีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยได้จ้างเหมาบริษัทเอกชนมาดำเนินการเก็บขนและกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยมีเตาเผาขยะติดเชื้อขนาด 5 ตัน/วัน (240 กิโลกรัม/ชั่วโมง) และเตาเผาสำรองขนาด  200 กิโลกรม/ชั่วโมง ให้บริการแก่สถานพยาบาล ทั้งในและนอกเขตเทศบาล

 

6.ปัญหาและภัยสำคัญของหาดใหญ่

ประเภทของ
สาธารณภัย

สาเหตุ

พื้นที่และกลุ่มเสี่ยงภัย/
ได้รับผลกระทบ

มาตรการ/แนวทางป้องกันแก้ไข

ผู้ที่เกี่ยวข้อง/
หน่วยงานรับผิดชอบ

1. น้ำท่วม/ ทางระบายน้ำ(ปี 2501, 2517, 2531, 2543 โดยท่วมหนักในปี 31 และ 43)
  • พื้นที่ของหาดใหญ่ถือเป็นกลาง-ปลายน้ำ
    ลักษณะเป็นแอ่งกะทะ รองรับน้ำจากหลายอำเภอ
    ก่อนระบายลงสู่ทะเลสาบสงขลา
  • การตัดไม้ทำลายป่า
  • ฝนตกหนัก
  • น้ำทะเลหนุน ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำ
    ลงสู่ทะเลสาบสงขลาได้
  • มีคลองผ่านเมือง (คลองอู่ตะเภา/ คลองเตย)
  • การตั้งถิ่นฐานของชุมชน และการสร้างอาคาร
    ที่ค่อนข้างหนาแน่น
  • การถมทางน้ำ และการสร้างถนนกั้นคันน้ำเดิม
  • ไม่วางระบบระบายน้ำ
  • ริมคลองอู่ตะเภาทั้งสองฝั่ง
  • คลอง 30 เมตร ช่วงตัดกับถนน
    ศุภสารรังสรรค์
  • ถนนเขต 8
  • ชุมชนราชอุทิศ
  • ชุมชนเตสา
  • ชุมชนมงคลประชา
  • ชุมชนชุมชนทุ่งเสา
  • ชุมชนจันทร์วิโรจน์
  • ชุมชนหน้าค่ายเสนาณรงค์
  • ย่านธุรกิจ
  • ทำคูน้ำรอบเมือง
  • สร้างแก้มลิงเพื่อเป็นแหล่งรองรับน้ำ
  • ทำทางระบายน้ำเพื่อเลี่ยงเมือง
  • การเผ้าระวังในช่วงหน้าฝนและช่วงที่ฝนตกหนัก
  • อบรมวิทยุชุมชนเพื่อใช้เป็นแหล่งในการแจ้งข้อมูลข่าวสาร
  • ชลประทาน
  • ทน.หาดใหญ่ และอปท. ที่อยู่ในลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา/ คลองเตย
  • ชุมชน
2. ดิน/โคลนถล่ม
  • การตัดไม้
  • การขุดดินเพื่อนำไปถมที่ เพื่อสร้างเป็นบ้านจัดสรร
  • ทุ่งรี
  • บ้านปักธง
  • เขาคอหงส์ (เขต ทม.คอหงส์ ติดกับหาดใหญ่)
  • ปลูกจิตสำนึกให้กับประชาชน
  • สร้างเครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ฯ
  • อปท. ออกเทศบัญญัติเพื่อใช้เป็นมาตรการทางกฎหมายในการบังคับใช้เพื่อป้องกันการขุดดิน
  • อปท. ที่อยู่ในพื้นที่ (เช่น ทม.คอหงส์)
  • ทสจ.
  • ปภ.
  • สนง.จังหวัด
3. ทะเล/ชายฝั่ง
  • ทะเลสาบ
  • เกิดตะกอนทำให้ตื้นเขิน
  • คุณภาพน้ำแย่ลง
  • การบุกรุกที่
  • การทำประมง/ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ผิดกฎหมาย
  • ทะเล
  • ป่าชายเลนถูกทำลาย
  • เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง
  • หาดสกปรก
  • การทำประมงผิดกฎหมาย
  • คุณภาพน้ำแย่ลง
  • ทะเลสาบสงขลา
  • ทน.สงขลา
  • ทม.เขารูปช้าง
  • ทม.สิงหนคร
  • ทต.คูเต่า
  • ทต.น้ำน้อย
  • ชุมชนที่อยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง และทะเลสาบ
  • ผู้ประกอบอาชีพประมง
  • ขุดลอกทะเลสาบสงขลาให้มี
    ร่องน้ำ
  • บังคับใช้กฎหมายควบคุมการทำประมงอย่างเข้มงวด
  • พัฒนา/ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย (โดยเฉพาะจากชุมชน) ให้ครอบคลุม
  • ฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน
  • ทน.หาดใหญ่ และอปท. ในพื้นที่
  • อบจ.
  • สนง.จังหวัด
  • ทสจ./ สสภ.
  • ทช.
  • สผ./คพ.
4. ขยะ
  • ชุมชนขยายตัว
  • จำนวนประชากรมาก ทั้งคนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยว
  • ไม่มีการคัดแยกขยะ
  • พื้นที่ฝังกลบมีจำกัด และประสบปัญหาการต่อต้าน
    จากชุมชน ในการใช้พื้นที่ฝังกลบอันใหม่ (พื้นที่ของ
    อบต.ทุ่งขมิ้น) ที่เตรียมไว้  (ปัจจุบัน ทน.หาดใหญ่มีพื้นที่ฝังกลบที่อยู่ในพื้นที่ของ ทม.ควนลังใกล้สนามบิน)
  • พื้นที่ฝังกลบและบริเวณใกล้เคียง
  • ชุมชนทั่วไป / ที่อยู่บริเวณใกล้กับพื้นที่ฝังกลบ
  • รณรงค์การสร้างจิตสำนึก
  • พื้นที่ที่ ทน.หาดใหญ่จะใช้ทำที่ฝังกลบอันใหม่ (512 ไร่) ได้นำไปใช้ในโครงการชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
  • มีโครงการจัดทำเตาเผาขยะ (250 ตัน/วัน) โดยสามารถใช้ผลิตไฟฟ้าและปุ๋ยได้
  • รณรงค์การคัดแยกขยะ และการเก็บเป็นเวลา (ยังไม่ได้ดำเนินการอย่างชัดเจน)
  • อบต.ทุ่งขมิ้น
  • ทม.ควนลัง
  • ทน.หาดใหญ่
  • กฟผ.
5. น้ำเสีย
  • ปล่อยน้ำทิ้งจากชุมชน / โรงงาน
  • การทำการเกษตร
  • คลองเตย
  • คลองอู่ตะเภา
  • ชุมชนที่อยู่ริมคลอง
  • ทำระบบบำบัดน้ำเสียให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่
  • สสภ./ ทสจ.
  • ทน.หาดใหญ่ และอปท. ใกล้เคียง
6. โรคติดต่อไข้เลือดออกชิคุนกุนยา

(ปัจจุบัน โรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ฯลฯ)

  • น้ำแช่ขัง ซึ่งเป็นแหล่งพาหะของยุงลาย
  • ระบบสุขาภิบาล
  • ขาดการพ่นยา เพื่อทำลายลูกน้ำถึงแหล่งกำเนิด
  • บ้านเรือนประชาชนทั่วไปที่มีน้ำขัง
  • สวน (ยางพารา ผลไม้)
  • เด็ก
  • ชาวสวน (ชิคุนกุนยา)
  • รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง
  • จัดระบบสุขาภิบาล และทางระบายน้ำ
  • ใช้สุมนไพรไล่ยุง ระวังไม่ให้ยุงมากัด
  • สสจ./โรงพยาบาล
  • ประชาชน
  • อสม./ สาธารณสุข ของ อปท.
7. วินาศกรรม/ ประชากรแฝง/ การจัดระเบียบชุมชน
  • ผลประโยชน์และ ความขัดแย้งทางการเมือง
  • สร้างสถานการณ์
  • ใกล้สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้
  • การท่องเที่ยวทำให้ควบคุม คนที่เข้ามาในพื้นที่ได้ยาก
  • ความหละหลวม ในการรักษาความปลอดภัย
  • พื้นที่ธุรกิจในเมือง/ ย่านพาณิชย์/ โรงแรม
  • ชุมชนหนาแน่น
  • ภาคธุรกิจ พ่อค้า แม่ค้า
  • ประชานในพื้นที่
  • สร้างเครือข่ายเฝ้าระวัง (ตาสับปะรด) ใช้คนในชุมชนช่วยแจ้งเบาะแส และคอยสอดส่องดูแล
  • จัดระเบียบประชากรแฝง (การลงทะเบียนคนต่างด้าว)
  • จัดระเบียบบ้านเช่า/ หอพัก
  • ตำรวจ
  • ทหาร
  • ฝ่ายปกครอง
  • แรงงานจังหวัด
  • ชุมชน/อาสาสมัคร
  • เครือข่ายสื่อมวลชน
  • ทน.หาดใหญ่
  • อปท.รอบช้าง
8. อาชญากรรม/ ยาเสพติด
  • เศรษฐกิจไม่ดี/ คนว่างงาน
  • ประชากรแฝง
  • การส่งเสริมให้หาดใหญ่ เป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ
  • การคมนาคมที่สะดวก ทำให้มีคนต่างพื้นที่ เข้าออกได้ง่าย
  • อิทธิพล/ ความไม่เข้มงวดในการใช้กฎหมาย และการตรวจตรา
  • ย่านธุรกิจ
  • โรงเรียน
  • ชุมชนทั่วไป
  • เยาวชน/ ประชาชนทั่วไป/ คนจน
  • นักท่องเที่ยว
  • ภาคธุรกิจ พ่อค้า แม่ค้า
  • ประชากรแฝง
  • ทางหอการค้าฯ พยายามส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อแกปัญหาการว่างงาน
  • ส่งเสริมคุณธรรมในกลุ่มเยาวชน
  • รณรงค์ป้องกันผู้เสพ และปราบปรามผู้ค้า
  • ปลูกฝังและส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น
  • สร้างผู้นำต้นแบบ
  • ตำรวจ
  • ปปส.
  • พม.
  • ทน.หาดใหญ่
9. จราจร/อุบัติเหตุ
  • ผู้ใช้ถนนขาดจิตสำนึก และขาดวินัยจราจร
  • รถมาก ทั้งในพื้นที่ และรถจากต่างจังหวัด
  • การจอดรถกีดขวางทาง/ จอดซ้อนคัน
  • การจัดระบบการจราจรไม่ดี
  • ไม่มีระบบขนส่งมวลชน
  • ย่านโรงเรียน
  • ย่านธุรกิจ/พาณิชย์
  • ตลาด
  • สร้างจิตสำนึก และวินัยจราจรแก่ผู้ใช้รถ ใช้ถนน
  • จัดระบบการเดินรถ/ขนส่งมวลชน
  • ปรับปรุงป้ายสัญญาณไฟ จราจรให้ชัดเจน
  • จัดจุดจอดรถรับส่งนักเรียน
  • ควรเพิ่มมาตรการในการจำกัดจำนวนรถ เช่น เพิ่มภาษี
  • ตำรวจ
  • ขนส่งจังหวัด
  • ทน.หาดใหญ่
  • ผู้ปกครอง
  • ประชาชนทั่วไป
10. อัคคีภัย
  • เผาไล่ที่
  • อาคาร/อุปกรณ์ไฟฟ้าเก่า
  • มีการพ่วงไฟฟ้าจากบ้านอื่น ทำให้เกิดการใช้ไฟ มากเกินไป
  • ไฟฟ้าลัดวงจร
  • ตรอก วอก ซอยที่แคบ ทำให้รถดับเพลิง เข้าถึงไม่สะดวก
  • ย่านพาณิชย์
  • ริมทางรถไฟ
  • ชุมชนรัตนวิบูลย์
  • ชุมชนจันทร์วิโรจน์
  • ชุมชนโชคสมาน
  • ชุมชนถัดอุทิศ
  • ชุมชนท่าเคียน
  • ชุมชนทุ่งเสา
  • ประชาชนที่อยู่ในชุมชนเสี่ยงภัย
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงในชุมชน
  • พัฒนาอาสาสมัครเพื่อช่วยสอดส่องดูแลให้มากขึ้น
  • ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน
  • จัดระเบียบชุมชน และขยายเขตชุมชน
  • ทน.หาดใหญ่ และ อปท.รอบข้าง
  • ปภ.

ACCCRN

เครือข่ายเมืองในเอเชีย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Asian Cities Climate Change Resilience Networks

Get In Touch