สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป
Strengthening urban climate governance for inclusive, resilient and sustainable societies in Thailand Project
โครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง
[การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การเปลี่ยนแปลงเมือง, การเปลี่ยนแปลงปรับตัวชุมชน]
บทนำและเหตุผล...ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ภาคประชาสังคม เข้าไปมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ของเมืองน้อยมาก โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาและการบริหารจัดการกับความเสี่ยงจากพิบัติภัย และการวางแผนปรับตัวของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกับหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นน้อยเกินไป จากการพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน เส้นทางการไหลของน้ำ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุ่มน้ำและพื้นที่เกษตรกรรมไปเป็นพื้นที่พาณิชย์ ประกอบกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก ส่งผลให้การบริหารจัดการเมืองต้องเผชิญกับปัญหาหลายด้านที่สลับซับซ้อน ทั้งทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ด้านวิถีปฏิบัติ และด้านการปกครอง และยังเกิดผลกระทบด้านสังคมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ อาทิ ความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ประกอบกับในการวางแผนการพัฒนาเมืองในปัจจุบัน มีการคำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติด้านน้ำน้อยเกินไป ปัญหาเหล่านี้จะสามารถคลี่คลายได้โดยภาคประชาสังคมต้องเข้าไปร่วมแรงมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เหมาะสม ดังนั้นโครงการมีแนวทางในการเสริมสร้างศักยภาพของภาคประชาสังคม ดังนี้
1. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบและความเชื่อมโยงของการพัฒนาเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความเปราะบาง ความยากจน และความไม่เท่าเทียมของชุมชนเมือง (โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบและด้อยโอกาสรวมถึงภาคเศรษฐกิจนอกระบบ)
2. ให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนระดับภูมิภาค เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายได้ร่วมพูดคุย หารือ เสนอความคิดเห็น และเสริมสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการตัดสินใจและวางแผนนโยบายของเมืองให้มากขึ้น
3. เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ ข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลนำไปสู่กระบวนการวางแผนและตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับปรุงและจัดเตรียมกลไกในการเพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น ภาคประชาสังคมและภาคเอกชนในกระบวนการวางแผน
5. เสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการและการปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลในกระบวนการพัฒนาเมืองเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันและสามารถรับมือในบริบทของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
รายละเอียดและวัตถุประสงค์ของโครงการ
ภารกิจหลัก ของ European Commission คือมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของภาคประชาสังคมไทยในการดำเนินการและสนับสนุนธรรมาภิบาลในกระบวนการพัฒนาของประเทศไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ สอดคล้องกับโครงการที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือของภาคประชาสังคมในการดำเนินการและจัดเตรียมนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หลักของ European Commission ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ |
เป้าหมายของโครงการ เพิ่มขีดความสามารถด้านการปรับตัวของชุมชนเมือง โดยการเสริมสร้างการบริหารจัดการด้านธรรมาภิบาลสอดล้องกับสภาพภูมิอากาศของเมืองให้ดีขึ้น และเสริมสร้างองค์ความรู้ของภาคประชาสังคมให้สามารถนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนให้มากขึ้น
วัตถุประสงค์โครงการ เสริมสร้างกลไกการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการพัฒนาเมืองอย่างทั่วถึงคนทุกระดับชั้น ด้วยการสร้างศักยภาพของภาคประชาสังคม
ในขณะที่เมืองในประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งที่ต้องปรับบทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ใช่ภาครัฐ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเมือง ภาคประชาสังคมถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุนกิจกรรมของรัฐบาลท้องถิ่นในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติและร่วมวางแผนเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างภาครัฐสู่ชุมชนท้องถิ่นโดยการบริหารจัดการนั้นต้องเน้นความต้องการของคนในพื้นที่เป็นหลัก รวมถึง คนจน คนด้อยโอกาส คนชายขอบ คนพิการ อีกทั้งเด็ก ผู้หญิง คนพิการ และคนชรา
โครงการนี้มุ่งเน้นเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ให้กับองค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organisations: CSOs), องค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organisation (NGOs), องค์กรชุมชน (Community-Based Organisations: CBOs) ให้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปรับปรุงวางแผนการตัดสินใจในระดับนโยบายของท้องถิ่น การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติด้านน้ำ สิ่งแวดล้อมของเมือง รวมถึงการประเมินความเปราะบางและการบูรณาการยุทธศาสตร์การรับมือปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ให้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเมืองของท้องถิ่น โดยทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย
พื้นที่โครงการ
โครงการดำเนินการในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี
และหนองคาย
ภาคใต้: จังหวัดสงขลา พัทลุงและสตูล
กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ ของโครงการ
ระยะเวลาโครงการ 60 เดือน (5 ปี)
เริ่มต้นโครงการ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึง 31 ตุลาคม 2567
โครงการจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคประชาสังคมดังนี้:
นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งเน้นสนับสนุนการดำเนินการที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ เป้าหมายที่ 13 (ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น) เป้าหมายที่ 11 (ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน) เป้าหมายที่ 10 (ลดความเหลื่อมล้ำทั้งภายในและระหว่างประเทศ) เป้าหมายที่ 5 (บรรลุความเท่าเทียมทางเพศ พัฒนาบทบาทสตรีและเด็กผู้หญิง) เป้าหมายที่ 16 (ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดรับชอบและครอบคลุม ในทุกระดับ) และเป้าหมายที่ 17 (เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน)
กิจกรรมหลัก ทั้ง 5 กิจกรรม เป็นการเชื่อมโยงศาสตร์การเรียนรู้ การฝึกอบรมการวิจัย การปฏิบัติ การบูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนานโยบายและแผน ได้แก่