...เพื่อให้เมืองที่ร่วมโครงการมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีการเตรียมการ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนโดยประสานงานกันเป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักและความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆ ระดับท้องถิ่นในการพัฒนายุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเมืองและประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสที่ถือเป็นกลุ่มสำคัญที่ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงมีแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ การวางรูปแบบและแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การขยายผลการดำเนินงานไปยังเมืองต่างๆ ที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันโดยการรวบรวมกระบวนการทำงานต่างๆ และสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพแก่เมืองในการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การสนับสนุนให้เมืองแปลงแผนยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นสู่การปฏิบัติ
...การดำเนินโครงการจะเป็นการช่วยเสริมสร้างเครือข่ายเมืองในเอเชีย ซึ่งจะร่วมดำเนินงานเพื่อหากรอบแนวทางในการดำเนินงานที่มีความเหมาะสม และสามารถขยายผลสู่เมืองต่างๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เมืองมีความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างศักยภาพเมืองในการเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งการวางนโยบาย การจัดทำแผน และแนวทางการปฏิบัติ ที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาเมือง ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการ การป้องกันและจัดการภัยพิบัติ และการเตรียมความพร้อมในด้านอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ศักยภาพ และความต้องการของเมืองนั้น อย่างไรก็ตามก็สามารถที่จะขยายผลหรือนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับเมืองอื่น ๆ ได้เช่นกัน
ความท้าทาย
อนาคตของเมือง….
ปัจจุบัน ประชากรของโลกกว่าร้อยละ 50 อาศัยอยู่ในเมือง และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยได้มีการคาดการณ์กันว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 70 หรือประมาณ 6.4 พันล้านคน ภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งกว่าร้อยละ 60 ของประชากรเมืองเหล่านี้จะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ของเอเชีย โดย UN-Habitat ได้ประมาณการว่า ประชากรเมืองเหล่านี้กว่า 1 พันล้านคน(หรือประมาณ 1 ใน 3) ต้องอาศัยอยู่ในสภาพที่แออัด ไม่สามารถเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานได้ โดยเฉพาะน้ำ และสุขาภิบาล หรืออาศัยอยู่ในแหล่งพักพิงที่ไม่มั่นคง และคาดว่ากลุ่มประชากร หรือ “ชุมชนแออัด” เหล่านี้ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว (ประมาณ 2 พันล้านคน) ในปี พ.ศ. 2593
เมืองต้องประสบปัญหากับเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้….
คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก (IPCC) ได้คาดการณ์ว่าภาวะโลกร้อน ซึ่งเกิดจากการปลดปล่อย “ก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ” จากกิจกรรมของมนุษย์ที่ผ่านมาในอดีต ได้ส่งผลกระทบขึ้นแล้วในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโลก ทั้งปรากฏการณ์การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลการเกิดภัยธรรมชาติที่บ่อยครั้งขึ้น และมีความรุนแรงมากขึ้น การกัดเซาะชายฝั่ง การลดลงของพืชพันธุ์และสัตว์ต่างๆ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย รวมทั้งการเกิดโรคที่มีสาเหตุจากการที่อากาศอบอุ่นขึ้น เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้เลือดออก
กลุ่มที่มีความเสี่ยงและเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ…
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มักจะส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อกลุ่มคน หรือชุมชนที่เป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนที่น้อย ซึ่งโดยทั่วไปคือกลุ่มคนยากจน ที่จะไม่มีการเตรียมตัวหรือเตรียมการเพื่อรับมือกับผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ใดๆ เกิดขึ้น กลุ่มคนเหล่านี้จึงไม่มีความพร้อมหรือศักยภาพในการรับมือหรือตอบสนองต่อเหตุการณ์นั้นๆ ได้อย่างเหมาะสมด้วยเหตุผลดังกล่าว มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) จึงได้ริเริ่มดำเนินโครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่มีความเป็นเมืองด้วยเล็งเห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงเพื่อเตรียมการรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบดังกล่าว
วัตถุประสงค์โครงการ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อให้เมืองที่ร่วมโครงการมีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยมีการเตรียมการ และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อนโดยประสานงานกันเป็นเครือข่ายที่มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักและความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆ ระดับท้องถิ่นในการพัฒนายุทธศาสตร์และมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมการรับมือและจัดการกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเมืองและประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสที่ถือเป็นกลุ่มสำคัญที่ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับต้นๆ ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินโครงการดังกล่าวสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงมีแนวทางในการดำเนินโครงการ คือ
การวางรูปแบบและแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การขยายผลการดำเนินงานไปยังเมืองต่างๆ ที่ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันโดยการรวบรวมกระบวนการทำงานต่างๆ และสรุปบทเรียนที่เกิดขึ้น การเสริมสร้างศักยภาพแก่เมืองในการพัฒนายุทธศาสตร์การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีความเหมาะสมกับเมือง การสนับสนุนให้เมืองแปลงแผนยุทธศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นสู่การปฏิบัติ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การดำเนินโครงการดังกล่าว จะเป็นการช่วยเสริมสร้างเครือข่ายเมืองในเอเชีย ซึ่งจะร่วมดำเนินงานเพื่อหากรอบแนวทางในการดำเนินงานที่มีความเหมาะสม และสามารถขยายผลสู่เมืองต่างๆ ได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยส่งเสริมให้เมืองมีความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างศักยภาพเมืองในการเตรียมความพร้อมต่อการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งการวางนโยบาย การจัดทำแผน และแนวทางการปฏิบัติ ที่ครอบคลุมถึงการพัฒนาเมือง ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการบริการ การป้องกันและจัดการภัยพิบัติ และการเตรียมความพร้อมในด้านอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ศักยภาพ และความต้องการของเมืองนั้น อย่างไรก็ตามก็สามารถที่จะขยายผลหรือนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับเมืองอื่นๆ ได้เช่นกัน
นอกจากนี้ โครงการยังมุ่งหวังที่จะสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเมืองด้วย โดยการดำเนินงานต่างๆ จะเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับท้องถิ่น และประเทศ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม สถาบันการศึกษาและวิชาการ โดยคาดว่าจะเกิดผลดังนี้
การดำเนินโครงการ
โครงการนี้ได้ดำเนินงานใน 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย โดยจะมีระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งสิ้น 5 ปี คาดว่าจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2555 โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 (เมษายน 2551 – กันยายน 2552) : การคัดเลือกเมืองนำร่อง (ดำเนินการเสร็จแล้ว)
โครงการนี้ได้ดำเนินงานใน 4 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย เพื่อคัดเลือกเมืองนำร่องที่จะเข้าร่วมโครงการในระยะต่อไป โดยมีเมืองที่ร่วมโครงการทั้งสิ้น 10 เมือง โดยพิจารณาจากปัจจัยหลัก คือ
ความเสี่ยงหรือความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอัตราการเจริญเติบโตของเมือง ความเข้าใจของเมืองต่อความเสี่ยงหรือความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความพร้อมและการสนับสนุนของเมืองในการเข้าร่วมโครงการ การดำเนินโครงการในระยะนี้ จะมีการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการศึกษาข้อมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของเมืองที่เข้าร่วมโครงการใน 4 ประเทศดังกล่าวข้างต้น
เมืองที่ร่วมโครงการทั้ง 10 เมือง ใน 4 ประเทศ ได้แก่
Screen-Shot-2558-01-27-at-5.31.57-PM
ระยะที่ 2 (มกราคม 2552 – กลางปี 2553) : การเสริมสร้างศักยภาพเมืองด้วยการมีส่วนร่วมของภาคีเมือง
ในระยะนี้จะเป็นการศึกษาและประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (Shared Learning Dialogue – SLD) ระหว่างภาคีเมืองที่สำคัญ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และประชาสังคม เพื่อนำมาพัฒนาเป็นยุทธศาสตร์ มาตรการ แผนการดำเนินการ และข้อเสนอโครงการ (Project proposals) ที่เหมาะสมกับสภาพของเมืองและภาวะความเสี่ยง เพื่อเตรียมการรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีการดำเนินงาน ดังนี้
ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2553 – 2555) การดำเนินโครงการต่างๆ ตามแผนยุทธศาสตร์ฯ
มาตรการหรือแนวทางซึ่งได้พัฒนาขึ้นในระยะที่ 2 ที่มีความเหมาะสมกับศักยภาพของเมือง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นซึ่งได้มีการศึกษาและพัฒนาไว้ในระยะที่ 1 และ 2 ที่สามารถดำเนินการได้ จะถูกนำมาแปลงสู่การปฏิบัติ เพื่อช่วยบรรเทาหรือลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ระยะที่ 4 (ตั้งแต่กลางปี 2551 เป็นต้นไป) : การขยายผลโครงการ
เป็นการขยายสร้างความเข้มแข็งระหว่างเครือข่ายเมืองที่ร่วมโครงการ และเมืองอื่นๆ รวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ เพื่อนำไปสู่การขยายผลโครงการ โดยมีการดำเนินงานหลัก ๆ ดังนี้
การติดตามและประเมินผลการดำเนินโรงการ เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและบทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ การขยายผลด้านการเสริมสร้างศักยภาพและความพร้อมแก่เมืองต่างๆ การขยายผลบทเรียนและประสบการณ์ รวมทั้งกรอบแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์และการดำเนินงานต่างๆ การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอื่น ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรม หรือโครงการต่าง ๆ