ACCCRN

เครือข่ายเมืองในเอเชีย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Asian Cities Climate Change Resilience Networks

เชียงราย

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานสำคัญของเทศบาลเชียงราย

1. ข้อมูลทั่วไป


พื้นที่

60.85     ตารางกิโลเมตร

อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับตำบลบ้านดู่และตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ติดต่อกับตำบลสันทรายและตำบลท่าสาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออกติดต่อกับอำเภอเวียงชัย  จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลป่าอ้อดอนชัย และตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ลักษณะทางกายภาพ ตั้ง อยู่ในที่ราบสูงระหว่างภูเขา พื้นที่มีลักษณะรูปกะทะ   มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำกก และแม่น้ำกรณ์ไหลผ่าน ซึ่งเอื้อต่อการประกอบอาชีพที่สำคัญในเมืองเชียงราย คือ ธุรกิจการบริการด้านการท่องเที่ยว การค้า การอุตสาหกรรม และการเกษตรกรรมของจังหวัดเชียงราย

ลักษณะภูมิอากาศ

อยู่ในเขตมรสุมเมืองร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 25 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
  ฤดูร้อน    เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม รวม 3 เดือน
อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 39 องศาเซลเซียส
  ฤดูฝน      เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม รวม 5 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,593 มิลลิเมตร ฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน
  ฤดูหนาว  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์  รวม 4 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 10 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 6 องศาเซลเซียส

จำนวนชุมชน

60   ชุมชน

จำนวนหลังคาเรือน

36,358 หลังคาเรือน

จำนวนประชากร

69,602 คน (ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครเชียงราย ธันวาคม 2551)

ความหนาแน่น

1,136 คน/ตารางกิโลเมตร

2. ด้านเศรษฐกิจ

  เนื่องจากเทศบาลนครเชียงราย  ตั้งอยู่ในจุดศูนย์กลางของจังหวัดเชียงรายเป็นศูนย์กลางของความเจริญในทุกๆ ด้านของจังหวัดเชียงราย ไม่ว่าจะเป็นด้านประชากรเศรษฐกิจ การค้า การคมนาคม  ร้านอาหาร โรงแรม ตลาดสด พื้นที่ส่วนในใจกลางเมืองจะเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นซึ่งเป็นทั้ง พื้นที่อยู่อาศัยและย่านพาณิชย์ นอกจากนี้ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น วัดวาอารามต่างๆ ไร่แม่ฟ้าหลวง ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมล้านนานอกจากนี้ การที่จังหวัดเชียงรายมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงในอนุ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนหลายประเทศ ทำให้เกิดการรวมตัวกันในกรอบความร่วมมือของโครงการ “สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ” ประกอบด้วย ไทย จีน พม่า และลาว ทำให้สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเทศบาลดีขึ้นกว่าเดิม และ มีแนวโน้ม ที่จะดีมากขึ้นในอนาคต

 

3. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการ

 3.1 การคมนาคมเทศบาลมีระบบคมนาคมขนส่งที่เอื้ออำนวยและเชื่อมโยงกับจังหวัดและอำเภอใกล้ เคียง มีเส้นทางซึ่งเป็นถนนทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญเชื่อมระหว่างอำเภอและจังหวัด ใกล้เคียงมีสนามบิน 2  แห่ง  ได้แก่ สนามบินใช้ในราชการกองทัพอากาศ  และสนามบินนานาชาติ เป็นสนามบินพาณิชย์สากลที่อยู่ติดเขตเทศบาล นอกจากนี้ ยังมีการคมนาคมขนส่งทางน้ำ  เป็นการเดินทางโดยล่องแพหรือเรือ จากบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำน้ำกกถึงจังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวเป็นสำคัญในปัจจุบันเขตเทศบาลมีปัญหาการจราจรติดขัดเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วนหรือมีฝนตก และในช่วง     เทศกาลสำคัญต่างๆ  ซึ่งเทศบาลได้มีโครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองตามระบบผังเมืองรวม  เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในอนาคต

3.2 การไฟฟ้า

ปัจจุบันในเขตเทศบาลนครเชียงรายประชาชนมีไฟฟ้าใช้ครบทุกชุมชน แต่ไม่ครบทุกหลังคาเรือน   อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดเชียงราย โดยเทศบาลได้อุดหนุนงบประมาณในการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะไฟฟ้าแรงต่ำภายในเขต เทศบาล

            3.3 การประปา

เทศบาลนครเชียงรายได้ใช้บริการประปาจากสำนักงานการประปาเชียงรายและเทศบาล ได้ขยายประปาเข้าสู่ชุมชน ให้ราษฎรทั้งในเขตเทศบาลได้ใช้น้ำประปาครบทุกครัวเรือนในอนาคต

            3.4 การศึกษา

เทศบาลนครเชียงรายดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการจัดการศึกษาในระบบ  เทศบาลได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง และโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครเชียงราย 7 โรงเรียน  ในส่วนของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน  ได้ส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของประเพณีและวัฒนธรรมอันเป็น เอกลักษณ์สำคัญของจังหวัดเชียงราย คือ วัฒนธรรมเชียงแสน  และชาติพันธุ์ต่างๆ

            3.5 การสาธารณสุข

สถานพยาบาล
สถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพ ในเขตเทศบาลนครเชียงราย มีโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในเขตพื้นที่เทศบาล ดังนี้

  • โรงพยาบาลรัฐบาล 2 แห่ง เตียงคนไข้ 816 เตียง (สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
    และกระทรวงกลาโหม)  และโรงพยาบาลของเอกชน 2 แห่ง เตียงคนไข้ 320 เตียง
  • ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครเชียงราย  1 แห่ง และสถานีอนามัย 2 แห่ง
    (สถานีอนามัยสันตาลเหลือง, สถานีอนามัยหัวฝาย)
  • คลินิกเอกชน  จำนวน  75  แห่ง

            3.6 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

เทศบาลมีหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาล การวางเจ้าหน้าที่และรถดับเพลิง ไว้ 6 จุด ทั่วทุกมุมเมือง เพื่อให้เข้าใกล้จุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วที่สุด และในส่วนของอุปกรณ์ เทศบาลมีรถดับเพลิง 6 คน รถดับเพลิงโฟมและสารเคมี 1 คน รถดับเพลิงชนิดบันไดเลื่อนอัตโนมัติมีถังน้ำในตัว 1 คน รถบรรทุกน้ำ 6 คัน รถกู้ภัย 2 คัน และรถตรวจการณ์ 2 คัน

นอกจากนี้ จากการที่เทศบาลนครอุดรธานีประสบกับปัญหาน้ำท่วม ได้มีการเตรียมความพร้อมและแผนการช่วยเหลือ โดยการจัดเตรียมสถานที่เพื่อใช้เป็นศูนย์ช่วยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 4 แห่ง ในกรณีที่เกิดเหตุ คอยให้ความช่วยเหลือโดยการอพยพ แจกจ่ายอาหารและน้ำดื่ม และรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นไปยังศูนย์ฯ ใหญ่ และในส่วนของปัญหาภัยแล้งนั้น เทศบาลได้จัดตั้งกองอำนวยการช่วยแหลือประชาชนขาดแคลนน้ำที่สำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาล และจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำเพื่อขนส่งไปยังประชาชนในเขตเทศบาลที่ได้รับความ เดือดร้อน

 

4. ด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ

 4.1     ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินของเทศบาลนครเชียงราย
การใช้ที่ดินในลักษณะผสมผสานปะปนกัน โดยมากการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเมืองจะใช้ในการประกอบกิจกรรมการค้าขาย อุตสาหกรรม ที่ดินที่ตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลักจะมีการค้าขายอย่างหนาแน่นส่วนมากจะเป็น อาคารธุรกิจ ในปัจจุบันอาคารที่ใช้ประกอบกิจการค้า ประมาณร้อยละ 25 ส่วนการใช้ที่ดินเพื่อสร้างบ้านจัดสรรและที่ดินเพื่อการเกษตรจะอยู่รอบเขต ประมาณร้อยละ 33 และพื้นที่ว่างเปล่าประมาณร้อยละ 15  และพื้นที่อีกประมาณร้อยละ 30  เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ สถานที่ราชการ และสถานที่อื่นๆ4.2     ทรัพยากรป่า สวนสาธารณะ และที่พักผ่อน
เทศบาลได้พยายามส่งเสริมให้มีพื้นที่เปิด โล่งสำหรับสวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และพื้นที่สีเขียวสำหรับประชาชนให้มาใช้ประโยชน์ และเป็นปอดของเมือง ดังนี้
  • สวนตุงและโคมเชียงรายเฉลิมพระเกียรติในหลวง 75 พรรษา ตกแต่งแบบบรรยากาศล้านนา และดอกไม้เพื่อความสวยงาม จัดให้เป็นพื้นที่ที่ทำกิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมเด็กและเยาวชน พร้อมลานแอโรบิคและสนามเด็กเล่น รวมทั้งจัดให้อาคารเรือนจำเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้
  • บริเวณลานอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชและกำแพงเมือง จัดเป็นสวนสาธารณะปลูกไม้เมืองหนาว
  • สวนสาธารณะบริเวณหาดเชียงรายและสวนสาธารณะฉลอง สิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี จัดเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติ โดยการปลูกไม้ดอกไม้ประดับที่สวยงาม และเป็นสถานที่ออกกำลังกาย
  • สวนสาธารณะและลานกีฬาริมแม่น้ำกก
  • ลานกีฬาบริเวณสนามบินเก่าฝูงบิน 416 เชียงราย เป็นสถานที่ออกกำลังกาย และเทศบาลได้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งใกล้โรงเรียนเทศบาล จัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านเกษตรเมือง

4.3     ทรัพยากรน้ำ
ในเขตเทศบาลมีลำน้ำสำคัญที่ใช้ประโยชน์แก่ประชาชนได้ คือ แม่น้ำกก แม่น้ำกรณ์ไหลผ่าน ทำให้เอื้อต่อการท่องเที่ยว และการเกษตรกรรมของประชาชนในเขตเทศบาล

 

5. การจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม

5.1  อากาศ     

เทศบาลนครเชียงรายประสบกับปัญหามลพิษทางอากาศจากหมอกควันซึ่งเกิดจากไฟป่า โดยเป็นปัญหาในช่วงหน้าแล้งประมาณเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน จากข้อมูลสถิติปัญหามลพิษทางอากาศของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน  พบว่าจำนวนครั้งที่ตรวจพบค่า PM10 เกินมาตรฐานเพิ่มขึ้นจาก 3 ครั้งในปี 2551 เป็น 27 ครั้งในปี 2552

5.2  น้ำและระบบบำบัดน้ำ

ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของเทศบาลนครเชียงราย ตั้งอยู่บริเวณหนองร่องปลาค้าว พื้นที่ประมาณ 80 ไร่ สามารถบำบัดน้ำเสียได้ประมาณ 27,200 ลบ.ม./วัน เป็นระบบเติมอากาศ 3 บ่อ เครื่องเติมอากาศ 9 เครื่อง บ่อตกตะกอน 1 บ่อ และอาคารจ่ายคลอรีนท้ายบ่อบำบัดก่อนระบายลงสู่แม่น้ำกก มีการควบคุมการเดินระบบและตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลการวิเคราะห์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานควบคุมคุณภาพน้ำทิ้ง พื้นที่โดยรอบบ่อบำบัดน้ำเสียได้มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ และจัดทำเป็นสวนสาธารณะสำหรับประชาชนเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการศึกษาดูงานด้านการจัดการน้ำเสียขององค์กรต่างๆ

5.3   การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และรางระบายน้ำ

วิธีจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย โดยวิธีการจัดเก็บเอง และจ้างเอกชนดำเนินการกำจัดปริมาณขยะมูลฝอย 70 – 80 ตัน/วัน  ถังขยะคอนเทนเนอร์ ขนาดความจุ 4 ลูกบาศก์เมตร 5 ใบ, ถังขยะคอนเทนเนอร์  ขนาดความจุ 8 ลูกบาศก์เมตร 9 ใบ, รถเข็นเพื่อเก็บและขนขยะมูลฝอย 60 คัน, ถังรองรับขยะมูลฝอย ขนาด 200 ลิตร 73 ใบ,  พนักงานเก็บขนขยะมูลฝอย 35 คน, คนงานกวาดถนน 95 คน, มีที่ดินสำหรับทิ้งขยะมูลฝอย 323 ไร่, มีรถยนต์เก็บและขนสิ่งปฏิกูลของเอกชน 1 คัน, มีสถานที่เก็บสิ่งปฏิกูล 1 แห่ง และมีถังเก็บรวมทิ้ง 28 ถัง

5.4  โรงฆ่าสัตว์และการใช้ประโยชน์น้ำเสียจากโรงฆ่าสัตว์

ของเสียและน้ำเสียที่เกิดจากขบวนการฆ่าสัตว์ของโรงฆ่าสัตว์เทศบาลนคร เชียงราย ถูกมาแปรรูปก๊าซชีวภาพ (BIOGAS) เป็นพลังงานทดแทนก๊าซ LPG โดยการติดตั้งระบบผลิตพลังงานชีวภาพจากของเสียโรงฆ่าสัตว์ ก๊าซชีวภาพที่ได้จากการผลิต สามารถนำมาใช้ประโยชน์เป็นก๊าซหุงต้มใช้ในขบวนการฆ่าสัตว์และแปลงเป็นแสง สว่างใช้ส่องสว่างภายในอาคาร นอกจากนี้กากของเสียที่ผ่านการย่อยสลายยังสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์มา ใช้ด้านการเกษตรได้อีกด้วย

 

6. ปัญหาและภัยสำคัญของเชียงราย

ประเภทของ
สาธารณภัย

สาเหตุ

พื้นที่และกลุ่มเสี่ยงภัย/ได้รับผลกระทบ

มาตรการ/แนวทางป้องกันแก้ไข

ผู้ที่เกี่ยวข้อง/
หน่วยงานรับผิดชอบ

1. มลภาวะทางอากาศจากหมอกควัน
  • เกิดจากการเผาป่า เพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร  การเผาขยะ เศษกิ่งไม้ ส่งผลกระทบต่อ
    ทัศนวิสัย และระบบทางเดินหายใจ
  • ลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกะทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา ทำให้ควัน ไม่สามารถระบายออกไปได้
  • ทั้งเมือง
  • เทศบาลมีการไปรับเศษกิ่งไม้/ใบไม้ และรณรงค์/ขอความร่วมมือไม่ให้เผากิ่งไม้/ใบไม้
  • อยู่ระหว่างการผลักดันเรื่องปัญหาหมอกควันให้เป็นวาระของจังหวัด
  • เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับพม่า และแม่น้ำโขงที่ติดกับลาว และพม่า ซึ่งที่ผ่านมาได้ใช้กลไกของคณะกรรมการระหว่างประเทศดำเนินการ
  • อบจ. และ อปท. ในพื้นที่
  • ปภ
  • คพ./ทสจ.
  • สสจ.
2. น้ำท่วม และน้ำท่วมขัง
  • ระบบระบายน้ำในเมืองไม่ดี
  • แม่น้ำกรณ์
  • ย่านชุมชนแออัด เช่น ชุมชนวัดพระแก้ว ชุมชนราชเดชดำรง ชุมชนเจ็ดยอด
  • ชุมชนสันหนอง
  • ชุมชนขี้เบ้า
  • ในช่วงปี 2547 เทศบาลได้ร่วมกับชลประทานขุดคลองชลประทาน เพื่อนำน้ำจากแม่น้ำลาวไหลไปลงแม่น้ำกก (เดิมต้องไปแม่น้ำกรณ์) โดยไม่ต้องผ่านเมือง
  • อบจ. และ อปท. ในพื้นที่
  • ชลประทาน
3. ดิน/โคลนถล่ม
  • เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า การทำถนนยกระดับ (การระเบิดภูเขาเพื่อนำดินมาใช้ในการก่อสร้าง)  ส่งผลกระทบต่อพื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่การเกษตร
  • อ.แม่จัน
  • การอบรมให้แก่ชุมชนในเรื่องของการเตรียม ตัว และการเตือนภัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติ และภัยธรรมชาติ ที่จะเกิดขึ้นได้
  • ปภ. เป็นเจ้าภาพหลักในการเตือนภัย และประสานกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่
4. วาตภัย และพายุ
  • มีแนวโน้มการเกิดพายุที่รุนแรง มีลูกเห็บที่มีขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัย ชีวิต พื้นที่การเกษตร
  • ทั้งเมือง
  • อ.แม่จัน
  • ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ ซึ่งทางจังหวัด (ผู้ว่าฯ) จะมีงบประมาณในการดำเนินการช่วยเหลือเบื้องต้นไม่เกิน 50 ล้านบาท
  • ปภ. เป็นเจ้าภาพหลักในการเตือนภัย และประสานกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่
5. ประชากรแฝง/โรคพาหะ
  • จากแรงงานต่างด้าว ซึ่งขาดการจัดระเบียบ และการควบคุมที่ดี ส่งผลต่อการแพร่ระบาด ของโรคติดต่อบางชนิด
  • ปัญหาอาชญากรรม ฯลฯ
  • ชุมชนน้ำลัด
  • ชุมชนทวีสัก
  • ชุมชนบ้านดอย
  • ควบคุมแหล่งเพาะเชื้อ จัดระเบียบสุขาภิบาล รณรงค์และให้ความรู้แก่ประชาชน
  • อบจ. และ อปท. ในพื้นที่
  • สสจ.
6. อุบัติเหตุ
  • โดยเฉพาะช่วงท่องเที่ยว ที่มีคนต่างถิ่น เข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น
  • ถ.พหลโยธินสายนอก
  • ส่งเสริมวินัย ปฏิบัติงานร่วมกับตำรวจในพื้นที่
  • อบจ. และ อปท. ในพื้นที่
  • ตำรวจ
  • ประชาชน


คณะทำงาน
  1. นางสุรนิตย์  อ่องฬะ
ปลัดเทศบาลนครเชียงราย
  21. ว่าที่ ร.ต.ดุจเดี่ยว  วงค์ภักดิ์
 นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย
ประธานคณะทำงาน คณะทำงาน
  2. นายกฤตย์  สวาสดิ์มิตร
หัวหน้าฝ่ายจัดสรรและปรับปรุงระบบชลประทาน
สำนักงานชลประทานเชียงราย
  22. นายฉลอง อินตาพรม
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย
รองประธานคณะทำงาน คณะทำงาน
  3. นายวิวัฒน์  กณะบุตร
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต
สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
  23. นายสุพินท์ บัวหลวง
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย
รองประธานคณะทำงาน คณะทำงาน
  4. นายณรงค์  อินโส
นักวิเคราะห์นโยบาย และแผนชำนาญการพิเศษ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  24. นายวัศพล อารินทร์
นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักงานเลขานุการ
คณะกรรมการลุ่มน้ำกกและโขง ภาคเหนือ
รองประธานคณะทำงาน คณะทำงาน
  5. นายมานพ สุขสอาด
หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์ฯ
สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย
  25. นายไพรัช โรงสะอาด
ผู้อำนายการสำนักบริการวิชาการแก่สังคม
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  6. นายสมัย รัตนจันทร์
สมัชชาสุขภาพเชียงราย
  26. นายทรงกลด ดวงหาคลัง
ผู้อำนายการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1
สาขาเชียงรายและเจ้าหน้าที่ สำนักงาน
เจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 สาขาเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  7. นายพรศักดิ์ นันตะรัตน์
เกษตรอำเภอเมืองเชียงราย
  27. นายเอกอดุลย์ ป้อมเสมา
นักวิเคราะห์ผังเมืองชำนาญการพิเศษ
สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  8. นายนที สายน้ำเย็น
นายช่างเครื่องกลชำนาญงาน
  28. นายสุรเดช ศรีคำมูล
นักผังเมืองชำนาญการพิเศษ
สำนักงานนโยธาธิการและผังเมืองจังเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  9. นายวิทยา มะสะ
นักวิชาการประมงชำนาญการ
สำนักประมงจังหวัดเชียงราย
  29.  นายวิทยา จาไผ่
หัวหน้าฝ่ายแผนงานและงบประมาณ
เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  10. นายจตุพล  อินต๊ะสงค์
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลรอบเวียง
  30. นางธิดารัตน์ ไข่แก้ว
หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชน เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  11. น.ส.ศิวรักษ์  กิจชนะไพบูลย์
อาจารย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  31. นายนัยนา อินทจักร์
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  12. น.ส.ณัฎทินีย์  มั่นชาวนา
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงราย
  32. นางวรนุช ไพริหิรัญ
หัวหน้าฝ่ายบริการสาธารณสุข
เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  13. นายเจริญชัย ฉั่วตระกูล
หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล
เทศบาลนครเชียงราย
  33. นายสุเจนต์ ไขแสงจันทร์
หัวหน้าฝ่ายการโยธา
เทศบาลนครเชียงรายคณะทำงาน
คณะทำงาน คณะทำงาน
  14. นายประสงค์ จันทร์ฉ่อง
หัวหน้าฝ่ายแบบและก่อสร้าง
เทศบาลนครเชียงราย
  34. นางอารีย์ ศรรนิเวศน์
หัวหน้าฝ่ายบริการและเผยแพร่วิชาการ
เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  15. นายเสกสรร ชื่นจิตรกุลถาวร
วิศวกรโยธา เทศบาลนครเชียงราย
  35. นายสนอง เนียมสกุล
รก.หัวหน้าฝ่ายช่างสุขาภิบาล
เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน คณะทำงาน
  16. นายวิม นเรนทรเสนี
อุปนายกฝ่ายนโยบายและ
แผนสมาคมท่องเที่ยวเชียงราย
  36. นายอนุรักษ์  ชลัมพุช
หัวหน้างานแผนงานสาธารณสุข
คณะทำงาน คณะทำงาน
  17. นายพิทยายุทธิ์ อรุณทิพย์ไพฑูรย์
นายช่างวสำรวจ เทศบาลนครเชียงราย
  37. นางผกาทอง อุปันโน
นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ 5
คณะทำงาน คณะทำงาน
  18. นายไพโรจน์ แอบยิ้ม
เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญการ
โครงการชลประทานเชียงราย
  38. นายชัยพร สมประมัย
รองปลัดเทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน เลขานุการคณะทำงาน
  19. นายจักรพงษ์  แสงบุญ
หัวหน้างานวิจัยและประเมินผล
เทศบาลนครเชียงราย
  39. น.ส.รัชฎา เมืองมาหล้า
ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน ผู้ช่วยเลขานุการและคณะทำงาน
  20. นายกฤษณะ ใจแก้ว
หัวหน้างานประชาสัมพันธ์
เทศบาลนครเชียงราย
  40. ว่าที่ ร.ต.จิตเกษม  ประสิทธิ์อยู่ศีล
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
เทศบาลนครเชียงราย
คณะทำงาน ผู้ช่วยเลขานุการและคณะทำงาน

โครงการย่อย

โครงการฟื้นฟูระบบนิเวศและส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชนพื้นที่แม่กกน้อย

โครงการพัฒนาเขตเมืองเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

 

ACCCRN

เครือข่ายเมืองในเอเชีย เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Asian Cities Climate Change Resilience Networks

Get In Touch