บทนำ
โครงการ “เครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ (The Rockefeller Foundation) ด้วยเล็งเห็นว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับชุมชนเมือง ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ และมีความหนาแน่นสูง ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในระดับรุนแรง โดยโครงการดังกล่าวมุ่งส่งเสริมให้เมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย คือ ประเทศไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย มีศักยภาพและความพร้อม เพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยประสานงานกันเป็นเครือข่าย และร่วมมือกันระหว่างภาคีต่าง ๆ ระดับท้องถิ่นในการพัฒนายุทธศาสตร์และมาตรการต่าง ๆ เพื่อเตรียมรับมือและจัดการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเมืองและประชากรที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเป็นลำดับต้น ๆ
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการมีระยะเวลาทั้งสิ้น 5 ปี โดยแบ่งออกเป็น
การขยายผลโครงการ (Project Replication) โดยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเมือง ประเทศ และภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานต่อเรื่องดังกล่าว สำหรับประเทศไทย ได้เริ่มดำเนินโครงการระยะที่ 1 ในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2552 โดยทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (Thailand Environment Institute – TEI) ร่วมกับศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center – ADPC) คัดเลือกเมืองจาก 5 เมืองที่ได้รับการเสนอชื่อเบื้องต้น คือ เมืองเชียงราย เมืองอุดรธานี เมืองภูเก็ต เมืองหาดใหญ่ และเมืองสมุทรสาคร ให้เหลือเพียง 2 เมือง นำร่องที่จะเข้าร่วมโครงการในระยะต่อไป โดยมีเกณฑ์พิจารณาหลัก คือ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ มีความต้องการและความพร้อมที่จะเรียนรู้เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้ง ควรเป็นเมืองที่ยึดหลัก ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการเพื่อสามารถส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือที่ดีของภาคีต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมเพื่อจัดการกับผลกระทบจากเรื่องดังกล่าว
วัตถุประสงค์
โครงการระยะที่ 2 : การเสริมสร้างศักยภาพของเมืองโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาคี
จากการดำเนินโครงการระยะที่ 1 ผลปรากฏว่า เมืองเชียงราย และเมืองหาดใหญ่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองนำร่องในประเทศไทย ซึ่งเมืองทั้งสองแห่งนี้ถือเป็นเมืองเครือข่ายหลัก ที่จะมีบทบาทสำคัญในการดำเนินโครงการ อย่างไรก็ตาม เมืองภูเก็ต เมืองอุดรธานี และเมืองสมุทรสาคร ยังคงมีโอกาสร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ เพื่อร่วมเรียนรู้และเป็นการเสริมสร้างศักยภาพของเมือง เพื่อให้เมืองนำไปประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสม กับสถานการณ์ของเมืองตนเองต่อไป
ทั้งนี้ การดำเนินโครงการระยะที่ 2 นั้น สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะเป็นหน่วยงานดำเนินการหลัก โดย มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแก่เมือง และหน่วยงานภาคี โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ซึ่งเรียกกันว่า Shared Learning Dialogue (SLD) ซึ่ง เป็นเวทีแห่งการสื่อสารและระดมความคิดเห็นที่จะจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด ระยะเวลาการดำเนินโครงการ เพื่อร่วมกันกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ว่าด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศของเมือง การเรียนรู้และรู้จักเครื่องมือที่จะใช้ในการจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และโครงการนำร่องที่มีความเหมาะสมกับ ประเด็น
ยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยจะมีการจัดทำเอกสารและสรุปบทเรียนจากการดำเนินงาน (documentation) เพื่อใช้เป็นสื่อในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมทั้งการขยายผลไปสู่ เมืองต่างๆ ต่อไป
ระยะเวลาโครงการ (Project Timelines) 11 เดือน โดยเริ่มในเดือนธันวาคม 2552 – ตุลาคม 2553
วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการและผลลัพธ์ (Objectives and Output)
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การเสริมสร้างศักยภาพเมืองเพื่อเตรียมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ โดยโครงการระยะที่ 2 ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จะดำเนินการร่วมกับเมืองเชียงราย และเมืองหาดใหญ่ในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศต่อไป ทั้งนี้ โครงการระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่ต้องการดังนี้
วัตถุประสงค์ที่ 1
เพื่อ สร้างการมีส่วนร่วม ความตระหนักและเสริมสร้างศักยภาพของเมืองเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพ ภูมิอากาศ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการกำหนดและประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่คาดว่าจะ เกิดขึ้นในอนาคตผลลัพธ์ 1.1 : การจัดตั้งคณะทำงานระดับเมืองที่ประกอบด้วยภาคีสำคัญที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ 1.2 : การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามสถานการณ์ของเมือง โดยมีการรวบรวมและจัดทำเป็นเอกสาร
ผลลัพธ์ 1.3 : การศึกษาและจัดทำเอกสารผลการศึกษาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยละเอียด
วัตถุประสงค์ที่ 2
เพื่อ สร้างเครือข่ายเมืองในประเทศไทย ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทเรียนและประสบการณ์ในการดำเนินงานเพื่อรับมือกับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลลัพธ์ 2.1 : เกิดเครือข่ายระดับเมืองทั้ง 5 เมือง
ผลลัพธ์ 2.2 : การรวบรวม “ตัวอย่างที่ดี” จากการดำเนินงานโครงการ บทเรียน และประสบการณ์จากการดำเนินโครงการของเมืองทั้งสอง
ผลลัพธ์ 2.3 : การรวบรวม “องค์ความรู้ใหม่” ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใช้ในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง 5 เมืองเครือข่าย และเมืองอื่น ๆ
วัตถุประสงค์ที่ 3
เพื่อร่วมกันพัฒนา คัดเลือก และดำเนินโครงการนำร่องเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 2 เมืองหลัก
ผลลัพธ์ 3.1 : ข้อเสนอโครงการนำร่องเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลลัพธ์ 3.2 : คัดเลือกโครงการนำร่องที่มีความเหมาะสม (ตามหลักเกณฑ์ที่เมืองและภาคีต่างๆ ร่วมกันกำหนด) และดำเนินโครงการนำร่องที่ได้รับการคัดเลือก
วัตถุประสงค์ที่ 4
เพื่อพัฒนาและจัดทำยุทธศาสตร์การรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลักดันแผนดังกล่าวสู่การปฏิบัติ
ผลลัพธ์ 4.1 : แผนยุทธศาสตร์เพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแนวทางการนำไปปฏิบัต
วัตถุประสงค์ที่ 5
เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์และโครงการที่จัดทำขึ้นในระดับเมืองเข้าสู่ระดับนโยบายภาค รัฐ เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการดำเนินโครงการ ทั้งด้านนโยบายและการเข้าถึงแหล่งทุนจากภาครัฐ
ผลลัพธ์ 5.1 : คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ผลลัพธ์ 5.2 : การจัดเวทีสัมมนาระดับประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมจากเมืองและหน่วยงานนโยบายระดับ ประเทศ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงและผลักดันการดำเนินโครงการระดับเมืองเข้าสู่นโยบาย ระดับประเทศ