พื้นที่ |
47.70 ตารางกิโลเมตร |
อาณาเขต | ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.หมูม่น อบต.กุดสระ อบต.สามพร้าว ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านจั่น อบต.บ้านจั่น อบต.นาดี อบต.หนองขอนกว้าง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.หนองนาคำ เทศบาลตำบลหนองบัว ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลหนองสำโรง อบต.เชียงพิณ อบต.บ้านเลื่อม |
ลักษณะทางกายภาพ |
มีสภาพพื้นที่ภายในตัวเมืองเป็นแอ่ง ลาดจากทิศใต้ไปทิศเหนือ |
ลักษณะภูมิอากาศ |
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 25 – 27 องศาเซลเซียส แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิประมาณ 32.5 – 34.5 องศาเซลเซียส ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม รวม 5 เดือน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 1,374 – 1,850 มิลลิเมตรฝนตกชุกที่สุดระหว่างเดือนกรกฎาคม – กันยายน ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ รวม 4 เดือน อุณหภูมิประมาณ 4.2 – 11.9 องศาเซลเซียส |
จำนวนชุมชน |
101 ชุมชน |
จำนวนหลังคาเรือน |
48,161 |
จำนวนประชากร |
142,112 |
ความหนาแน่น |
2,979 คน/ตารางกิโลเมตร |
แผนที่แสดงลักษณะทางกายภาพของเทศบาลนครอุดรธานี |
2. ด้านเศรษฐกิจ
ในเขตตัวเมือง เป็นชุมชนที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการลงทุน โดยเป็นศูนย์รวมทางด้านพาณิชยกรรมและธุรกิจ โครงสร้างทางเศรษฐกิจหลักในเขตเทศบาลจึงเป็นการค้าส่ง/ค้าปลีก ธุรกิจการเงินและการลงทุน ตามด้วยการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมขนาดย่อม เช่น โรงสี โรงกลึง โรงซ่อมรถยนต์ ฯลฯ |
3.1 การคมนาคม เทศบาลมีระบบคมนาคมขนส่งที่เอื้ออำนวยและเชื่อมโยงกับจังหวัดและอำเภอใกล้เคียง มีเส้นทางคมนาคมหลัก คือ รถยนต์ โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านใจกลางเมืองตามแนวเหนือ – ใต้ และทางหลวงเชื่อมระหว่างอำเภอและจังหวัดใกล้เคียง มีบริการรถโดยสารระหว่างประเทศ อุดรธานี – เวียงจันทน์ นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และเส้นทางคมนาคมทางอากาศ โดยมีสนามบินนานาชาติ เป็นสนามบินพาณิชย์สากลที่อยู่ในเขตเทศบาล3.2 การประปา มีสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาคจังหวัดอุดรธานี อยู่ในเขตเทศบาล 1 แห่ง ซึ่งให้บริการแก่ประชาชนทั้งในเขตเทศบาลนครอุดรธานี และเทศบาลใกล้เคียง3.3 การศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการจัดการศึกษาในระบบ เทศบาลได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานีรวม 9 แห่ง นอกจากนี้ยังวิทยาลัยอาชีวศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา สายสามัญ และสายอาชีพ ทั้งของรัฐและเอกชนมากมาย และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา จึงจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าทางการศึกษาสูงมาก
3.4 การสาธารณสุข สถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีโรงพยาบาลรัฐจำนวน 4 แห่ง เอกชน 8 แห่ง สถานีอนามัย 27 แห่ง และคลินิกเอกชนอีก 149 แห่ง 3.5 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลมีหน่วยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาล การวางเจ้าหน้าที่และรถดับเพลิง ไว้ 6 จุด ทั่วทุกมุมเมือง เพื่อให้เข้าใกล้จุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็วที่สุด และในส่วนของอุปกรณ์ เทศบาลมีรถดับเพลิง 6 คน รถดับเพลิงโฟมและสารเคมี 1 คน รถดับเพลิงชนิดบันไดเลื่อนอัตโนมัติมีถังน้ำในตัว 1 คน รถบรรทุกน้ำ 6 คัน รถกู้ภัย 2 คัน และรถตรวจการณ์ 2 คัน นอกจากนี้ จากการที่เทศบาลนครอุดรธานีประสบกับปัญหาน้ำท่วม ได้มีการเตรียมความพร้อมและแผนการช่วยเหลือ โดยการจัดเตรียมสถานที่เพื่อใช้เป็นศูนย์ช่วยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 4 แห่ง ในกรณีที่เกิดเหตุ คอยให้ความช่วยเหลือโดยการอพยพ แจกจ่ายอาหารและน้ำดื่ม และรายงานความเสียหายที่เกิดขึ้นไปยังศูนย์ฯ ใหญ่ และในส่วนของปัญหาภัยแล้งนั้น เทศบาลได้จัดตั้งกองอำนวยการช่วยแหลือประชาชนขาดแคลนน้ำที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเทศบาล และจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำเพื่อขนส่งไปยังประชาชนในเขตเทศบาลที่ได้รับความเดือดร้อน |
4. ด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
4.1 ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินของเทศบาลนครอุดรธานี
เมืองอุดรธานีมีลักษณะการใช้ที่ดินแบบผสม มีการตั้งถิ่นฐานเป็นแบบมีศูนย์กลางเดียว ย่านที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยส่วนใหญ่จะกระจายอยู่รอบนอกศูนย์กลางเมือง ที่ตั้งหน่วยราชการส่วนใหญ่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่รอบทุ่งศรีเมือง และหนองประจักษ์ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งสาธารณะขนาดใหญ่ใจกลางเมือง มีย่านที่อยู่อาศัยและย่านพาณิชยกรรมกระจายรอบๆ ซึ่งเป็นย่านที่ค่อนข้างหนาแน่น ลักษณะอาคารเป็นอาคารพาณิชย์และตึกแถว การกระจุกตัวของการค้าและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากยังคงอยู่ใจกลางเมือง ด้านทิศตะวันตกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร เขตทหาร แบะย่านที่อยู่อาศัย มีสถาบันการศึกษากระจายอยู่ทั่วไป ส่วนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงเหนือมีโอกาสขยายตัวค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นเขตทหาร และสนามบินพาณิชย์ การขยายตัวของเมือง จะขยายไปตามแนวถนนสายหลักที่มุ่งเข้าสู่ตัวเมือง (อุดร-สกลนคร)
4.2 ทรัพยากรป่า สวนสาธารณะ และที่พักผ่อน
4.3 ทรัพยากรน้ำ มีแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญ 2 ประเภท คือ
ลำห้วย มี 2 แหล่ง คือ ห้วยหมากแข้ง และห้วยมั่ง ซึ่งเป็นเส้นทางระบายน้ำธรรมชาติออกจากตัวเมือง
หนองน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในการผลิตน้ำประปา และเป็นแหล่งสำรองน้ำใช้ ในเขตเทศบาลมีหนองน้ำที่สำคัญ คือ หนองประจักษ์ศิลปาคม เป็นหนองน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตเทศบาลประมาณ 328 ไร่ นอกจากนี้ ยังมีหนองน้ำอื่นๆ อีก คือ หนองสิม หนองบัว หนองเตาเหล็ก หนองใหญ่ และหนองขอนกว้าง |
5. การจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม
5.1 อากาศ มลพิษทางอากาศในเขตเทศบาลนครอุดรธานีไม่เป็นปัญหามากนัก จากข้อมูลคุณภาพอากาศของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี ไม่พบสารมลพิษ คือ ก๊าซโอโซน (O3) ฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เกินเกณฑ์มาตรฐาน
5.2 น้ำและระบบบำบัดน้ำ ห้วยหมากแข้ง และห้วยมั่งเป็นแหล่งรับน้ำฝนและน้ำเสียที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาล โดยเป็นระบบระบายน้ำเป็นระบบรวม คือ รับทั้งน้ำฝน และน้ำเสียไหลไปในท่อเดียวกัน น้ำเสียจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ดังกล่าวระบายลงสู่ลำรางสาธารณะ และแหล่งรองรับน้ำเสียต่างๆ
ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี คือ การปรับปรุงคุณภาพน้ำด้วยวิธีธรรมชาติโดยระบบบึงประดิษฐ์ที่ห้วยหมากแข้ง ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการไปเพียงบางส่วน ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของเทศบาล โดยครอบคลุมเขตเทศบาลเพียง 8.60 ตารางกิโลเมตร อยู่ระหว่างการดำเนินงานให้ครอบคลุมตลอดลำห้วยหมากแข้ง พร้อมไปกับการปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อใช้เป็นพื้นที่นันทนาการ และพักผ่อนของคนในเมือง |