บทนำ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศถือได้ว่าเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาเมือง เนื่องจากได้ก่อให้เกิดผลกระทบ และเกิดความกดดันในด้านการจัดการทรัพยากรน้ำพื้นที่ชายฝั่ง ระบบนิเวศน์ การเกษตร รวมถึงวิถีชีวิตชุมชนเมืองและกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ด้วยเหตุนี้ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development – USAID) จึงมีความพยายามที่จะสร้างการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่เมืองต่างๆ ในเอเชีย
เพื่อพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างความรู้และความเข้าใจ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยดำเนินการร่วมกับ 2 เมืองหลัก คือ เมืองอุดรธานี และ เมืองภูเก็ต ใน การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ว่าด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นำไปสู่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์และผลักดันสู่การปฏิบัติในระดับเมือง เพื่อให้เกิดการสนับสนุนการดำเนินโครงการอย่างยั่งยืน
กิจกรรม /เวลา |
ปีที่ 1 |
ปีที่ 2 |
ปีที่ 3 |
|||||||||
Q1 |
Q2 |
Q3 |
Q4 |
Q1 |
Q2 |
Q3 |
Q4 |
Q1 |
Q2 |
Q3 |
Q4 |
|
การคัดเลือกเมืองและสร้างข้อตกลงร่วมกับเมือง | ||||||||||||
การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | ||||||||||||
การเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 1 (SLD 1) | ||||||||||||
กิจกรรมฝึกอบรมการประเมินความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (VA Training) | ||||||||||||
การแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานของเมือง | ||||||||||||
การประเมินความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (VA) | ||||||||||||
การเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 2 (SLD 2) | ||||||||||||
การดำเนินกิจกรรมเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (โครงการนำร่อง: Pilot Project) | ||||||||||||
การเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 3 (SLD 3) | ||||||||||||
การผลักดันแนวทางการรับมือของเมืองสู่การปฏิบัติในระดับเมือง | ||||||||||||
การจัดทำเอกสารวิชาการ /พัฒนาเอกสาร |
ภายหลังจากคัดเลือกเมืองนำร่องในการเข้าร่วมโครงการ คือ เมืองอุดรธานี และ เมืองภูเก็ต ซึ่งทางโครงการได้ดำเนินกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรมร่วมกับทุกภาคส่วนของเมือง ดังนี้
1. การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเปลี่ยนแปลงของเมือง (Climate Workshop) เพื่อ สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล และเรียนรู้ร่วมกันของทุกภาคส่วน เกี่ยวกับกาพัฒนาเมือง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไปสู่การวางแผนพัฒนาเมืองในอนาคต ภายใต้บริบทของการพัฒนาเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งผลจากการ ประชุมจะเป็นแนวทางเบื้องต้นในการดำเนินโครงการในระยะต่อไป
2. การเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน (Shared Learning Dialogues หรือ SLD) เป็น การสัมมนาเชิงปฏิบัติการรูปแบบหนึ่งที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อนำเสนอหรือชี้แจง ข้อมูลรายละเอียด ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ และให้ทุกภาคส่วนของเมืองร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ที่มีความแตก ต่างกันของแต่ละหน่วยงานเกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาเมืองกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการวางแผนยุทธศาสตร์ในการรับมือของเมือต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพต่อไป ทั้งนี้การดำเนินการดังกล่าวต้องการทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาช่องว่างของเมืองและหาทางในการจัดการอย่างเหมาะสม
3. การประเมินความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Vulnerability Assessment) เป็น กิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินความเปราะบางของเมืองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ โดยผู้ดำเนินการหลักในการดำเนินการฯ คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และความเข้าใจต่อบริบทของพื้นที่ โดยผลการประเมินจะใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการรับมือของเมืองต่อการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป
5. การจัดทำเอกสารวิชาการ/พัฒนาเอกสารของเมือง การจัดทำ เอกสารวิชาการ/พัฒนาเอกสารของเมืองนำร่อง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบรวมข้อมูลและบทเรียนจากภาพรวมการของดำเนินงาน ของโครงการ M-BRACEของเมืองนำร่องในประเทศไทยและผลสำเร็จจากการดำเนินงาน สำหรับนำมาเป็นตัวอย่างในการเผยแพร่บทเรียนเรื่องการรับมือของเมืองต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่หน่วยงานต่างๆ ของเมือง รวมทั้งเมืองอื่นๆ ที่สนใจ
หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกเมืองเข้าร่วมโครงการมีทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่
องค์ประกอบ |
หลักเกณฑ์ย่อย |
1. ความพร้อมของเมืองในการเข้าร่วมดำเนินโครงการ | 1) ความมั่นคงทางการเมือง 2) ศักยภาพในการเข้าร่วมและสนับสนุนการดำเนินโครงการในระยะยาว 3) ความเข้าใจและตระหนักของผู้บริหารเมืองต่อการรับมือ 4) ความสนใจที่จะเรียนรู้เรื่องการรับมือกับผลกระทบ |
2. ผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของชุมชนและเมือง | 1) รูปแบบของภัยพิบัติ / ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ2) การป้องกันหรือรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติ/ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น |
3. ความสามารถของเทศบาลในการบริหารและประสานงานร่วมกับองค์กรส่วนท้องถิ่นอื่นๆ และองค์กรในระดับจังหวัด | – |
4. ความพยายามของเทศบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง | – |
1. ได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพกระบวนการวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ได้รับองค์ความรู้ ทักษะ และเครื่องมือที่จำเป็นในการประเมินผลกระทบและวางแผนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
3. สร้างศักยภาพการปรับตัวในระดับชุมชนและเมืองในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น