พื้นที่ |
12 ตารางกิโลเมตร |
อาณาเขต | ทิศตะวันออกจดตำบลรัษฎา ติดชายทะเล |
ลักษณะทางกายภาพ |
ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม มีคลองบางใหญ่จากอำเภอกะทู้ ไหลผ่านตัวเมืองออกสู่ทะเล |
ลักษณะภูมิอากาศ |
อากาศร้อนและฝน มีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพ.ค.-พ.ย. ฤดูร้อนเริ่มเดือน ธ.ค.-เม.ย. โดยเดือนมี.ค.เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดคือ 33.4 OC และเดือน ม.ค. เป็นเดือนที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดคือ 22 OC |
จำนวนชุมชน |
17 ชุมชน |
จำนวนหลังคาเรือน |
20,325 หลังคาเรือน |
จำนวนประชากร |
75,573 คน (ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครภูเก็ต ธันวาคม 2551) |
ความหนาแน่น |
6,298 คน/ตารางกิโลเมตร |
แผนที่แสดงอาณาเขต และชุมชนของเทศบาลนครภูเก็ต |
เทศบาลนครภูเก็ต เป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรม ธุรกิจการค้า ศูนย์การค้า ร้านอาหาร โรงแรม สถานบันเทิงต่างๆ ตลาดสด อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก พื้นที่ส่วนในใจกลางเมืองซึ่งเป็นย่านเมืองเก่า จะเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่น และพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเดิม |
|
3.1 การคมนาคม ภายในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีถนน 174 สาย เป็นถนนลาดยาง 141 สาย ถนนคอนกรีต 33 สาย มีสะพาน 28 แห่ง และสะพานลอยคนข้าม 3 แห่งมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับจังหวัดต่างๆ ได้สะดวกทั้ง 3 ทาง ได้แก่ ทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ มีท่าอากาศยานนานาชาติ 1 แห่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 เป็นถนนสายหลักผ่านสะพานท้าวเทพกระษัตรี และสะพานสารสิน ผ่านอำเภอถลางเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ต3.2 การประปา (แหล่งข้อมูล : กองการประปา เทศบาลนครภูเก็ต , ธันวาคม 2549) การประปาเทศบาลนครภูเก็ต ดำเนินการผลิตน้ำประปาเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนในเขตเทศบาลและพื้นที่ใกล้เคียงนอกเขตเทศบาล โดยเทศบาลมีแหล่งขุมน้ำเพื่อการผลิตน้ำประปาของเทศบาลเอง จำนวน 3 แห่ง มีอัตรากำลังการผลิตทั้งสิ้น 1,090 ลบ.ม./ชม. หรือ 26,160 ลบ.ม./วัน แบ่งตามแหล่งขุมน้ำ ดังนี้1. ระบบผลิตขุมน้ำเทศบาล กำลังการผลิต 70 ลบ.ม./ชม. หรือ 1,680 ลบ.ม./วัน 2. ระบบผลิตขุมน้ำสวนเฉลิมพระเกียรติ กำลังการผลิต 150 ลบ.ม./ชม. หรือ 3,600 ลบ.ม./วัน 3. ระบบผลิตถนนดำรง กำลังการผลิต 870 ลบ.ม./ชม. หรือ 20,880 ลบ.ม./วัน นอกจากนี้ เทศบาลยังต้องซื้อดิบจากของเอกชนมาผลิตน้ำประปา รวมทั้งซื้อน้ำจากการประปาภูมิภาคอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจากแหล่งน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน สำหรับแนวโน้มการใช้น้ำในอนาคต คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้น้ำเพิ่มขึ้นอีกทุกปี เนื่องจากความเจริญเติบโตของชุมชนเมือง และจากการที่ภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก 3.3 การศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต จัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการจัดการศึกษาในระบบ เทศบาลได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต 6 โรงเรียน โดยเปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน ในส่วนของการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เน้นผู้มีโอกาสและผู้ด้อยโอกาสในสังคม ด้วยการส่งเสริมความรู้ด้านอาชีพระยะสั้น การฝึกอบรมภาคฤดูร้อนหลักสูตรต่างๆ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นเห็นคุณค่าของประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของชาวภูเก็ต โดยการจัดให้มีงานประเพณีในโอกาสต่างๆ วันสำคัญอันเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือ ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับคนในท้องถิ่น รวมถึงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมให้ชาวภูเก็ตเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ไว้ เพื่อสืบสานต่อไปยังชนรุ่นหลัง เช่น วัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีพื้นเมืองภูเก็ต การจัดงานย้อนอดีตเมืองภูเก็ต เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมอาคารรูปแบบชิโน – โปรตุกีสของชาวภูเก็ตดั้งเดิม ตลอดจนส่งเสริมความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกด้วย 3.4 การสาธารณสุข สถานพยาบาล สถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพ ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต มีโรงพยาบาล จำนวน 2 แห่ง เป็น โรงพยาบาลเอกชน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีเตียงคนไข้ 200 เตียง โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลทั่วไป มีเตียงคนไข้ จำนวน 503 เตียง และมีศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครภูเก็ตอีก 3 ศูนย์ คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข 1, 2 และ 3 เทศบาลนครภูเก็ต 3.5 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เครื่องมือเครื่องใช้ของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
|
4.1 ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินของเทศบาลนครภูเก็ต
|
4.2 ทรัพยากรป่า สวนสาธารณะ และที่พักผ่อน ในเขตเทศบาลไม่มีพื้นที่ป่าธรรมชาติ มีเฉพาะป่าซึ่งอยู่นอกเขตบริเวณเขารัง เขาโต๊ะแซะ มีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ในสวนสาธารณะและที่ดินเอกชน มีสวนสาธารณะในความรับผิดชอบ ประกอบด้วย
|
สภาพสวนสาธารณะของเทศบาลนครภูเก็ต |
4.3 ทรัพยากรน้ำ
|
5.1 อากาศ
การตรวจสอบคุณภาพอากาศ (Clean Air) ของกรมควบคุมมลพิษ ทุกค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับการตรวจวัดคุณภาพอากาศของเตาเผา พบว่าบรรยากาศ มีค่าไม่เกินมาตรฐาน
5.2 น้ำและระบบบำบัดน้ำ
ในพื้นที่เขตเทศบาลนครภูเก็ต มีการใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) น้ำที่ผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย โดยบ่อเติมอากาศ จะฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนแล้วระบายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ โดยระบบดังกล่าวมีขนาด 36,000 ลบ.ม./วัน ซึ่งยังไม่ครอบคลุมทั่วพื้นที่ โดยยังมีพื้นที่ที่น้ำเสียไม่เข้าระบบ จะต้องปรับปรุงระบบท่อระบายน้ำ ท่อดักน้ำเสีย ให้ผ่านการบำบัด 8 โซน คือ บริเวณสามกอง สะพานปลารัษฎา สะพานถนนดีบุก ชุมชนสะพานร่วม ซอยภูธร ถนนติลกอุทิศ 2 ชุมชนสะพานร่วม 1,2 ชุมชนร่วมน้ำใจ บริเวณถนนเยาวราชฝั่งสามกอง และบริเวณอื่นๆ นอกจากนี้ เทศบาลยังมีการดำเนินการบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ ท่อระบายน้ำ คลองระบายน้ำ และขุมน้ำ |
|
5.3 การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และรางระบายน้ำ
เทศบาลนครภูเก็ต เป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินการกำจัดขยะมูลฝอยของจังหวัดภูเก็ตจากทุกองค์กรปกครองท้องถิ่นและจากเอกชน ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาล 6 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 12 แห่ง รวมทั้งขยะของที่พักอาศัย ร้านค้า สถานประกอบการของเอกชน มีระบบกำจัดขยะซึ่งอยูในศูนย์กำจัดขยะพื้นที่ประมาณ 291 ไร่เศษ ดังนี้
โรงงานเผาขยะมูล เป็นอาคารเตาเผาขยะ สูง 6 ชั้น ภายในประกอบด้วยเตาเผา 1 ชุด เผามูลฝอยได้ 250 ตัน/วัน ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ผลิตไฟฟ้าได้ 2.5 เมกะวัตต์ สำหรับใช้ในโรงเผาขยะมูลฝอย และมีไฟฟ้าส่วนเกินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้ สามารถรับกำจัดขยะได้ไม่น้อยกว่า 80,000 ตัน/ปี ซึ่งเตาเผานี้ได้ออกแบบไว้สำหรับเพิ่มขนาดได้เป็น 500 ตัน/วัน เพื่อรองรับการกำจัดขยะและแก้ไขปัญหาขยะของจังหวัดภูเก็ต จึงจำเป็นจะต้องเพิ่มระบบควบคุมมลพิษทางอากาศให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มห้องเผาขยะอีก 1 ชุด และมีการนำพลังงานความร้อนจากขยะไปใช้ประโยชน์ให้ได้สูงสุด
ภาพแสดงอาคารเตาเผาขยะและห้องควบคุม |
การจัดการมูลฝอยแบบฝังกลบ มี 5 บ่อ พื้นที่ 120 ไร่ ใช้มาตั้งแต่ปี 2535 ได้กลบขยะไปแล้ว และสามารถกลบฝังขยะได้ไม่เกิน 200,000 ตัน ซึ่งต้องขยายพื้นที่ชั้นที่ 3 รองรับขยะ หากใช้ควบคู่กับโรงเผาขยะ สามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี |
|
การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ เตาเผาขยะติดเชื้อ ขนาด 3 ตัน/วัน ใช้กำจัดขยะติดเชื้อของจังหวัดภูเก็ต วันละ 700 – 800 กิโลกรัม ยังต้องมีการปรับปรุงให้มีระบบควบคุมมลพิษ มีระบบขนถ่ายที่ได้มาตรฐานปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปี 2545 มีปริมาณ 112,743 ตัน/ปี และปี 2549 มีปริมาณ 156,688 ตัน/ปี โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นของขยะเฉลี่ยร้อยละ 6.3/ปี สำหรับในเขตเทศบาลนครภูเก็ตเอง ปี 2548 มีขยะ 38,363 ตัน/ปี และ ปี 2549 มี 39,692 ตัน/ปีปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตประสบกับปัญหาปริมาณขยะมีเกินกว่าขีดความสามารถของโรงงานเผาขยะ และพื้นที่ฝังกลบขยะ ซึ่งสามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี จำเป็นต้องแก้ปัญหา โดยเพิ่มชุดเผาขยะอีก 1 ชุด ให้ได้ 500 ตัน/วัน และเร่งรัดการนำขยะอินทรีย์ซึ่งมีปริมาณสูง ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ เพื่อลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน ตลอดจนยังต้องปรับปรุงโรงงานคัดแยกวัสดุใช้แล้วขนาด 300 ตัน/วัน ที่เอกชนลงทุนให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งอัตราขยะในเขตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
ปัจจุบัน จังหวัดภูเก็ตประสบกับปัญหาปริมาณขยะมีเกินกว่าขีดความสามารถของโรงงานเผาขยะ และพื้นที่ฝังกลบขยะ ซึ่งสามารถใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี จำเป็นต้องแก้ปัญหา โดยเพิ่มชุดเผาขยะอีก 1 ชุด ให้ได้ 500 ตัน/วัน และเร่งรัดการนำขยะอินทรีย์ซึ่งมีปริมาณสูง ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจ เพื่อลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน ตลอดจนยังต้องปรับปรุงโรงงานคัดแยกวัสดุใช้แล้วขนาด 300 ตัน/วัน ที่เอกชนลงทุนให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น |
ประเภทของ |
สาเหตุ |
พื้นที่และกลุ่มเสี่ยงภัย/ |
มาตรการ/แนวทางป้องกันแก้ไข |
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/รับผิดชอบ |
1. บุกรุก |
|
|
|
|
2. ดินถล่ม |
|
|
|
|
3. สึนามิ |
|
|
|
|
4. น้ำท่วม |
|
|
|
|
5. น้ำอุปโภค/บริโภค |
|
|
|
|
6. ขยะ |
|
|
|
|
7.น้ำเสีย |
|
|
|
|
8. การท่องเที่ยว |
|
|
|
|
9. จราจร/ อุบัติเหตุ |
|
|
|
|
10. ประชากรแฝง |
|
|
|
|