โครงการพัฒนาศักยภาพสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อพัฒนาแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศระดับจังหวัด(") จัดประชุมกลุ่มย่อย ณ ห้องประชุมมงคลพิตร (๒) ชั้น ๔ อาคาร ๔ ชั้น ศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๒๓ - ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๖ เพื่อหารือข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการประเด็น ๑) การจัดการทรัพยากรน้ำ ๒)การจัดการทรัพยากรด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ๓) การจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๔) การจัดการสาธารณสุข ๕) การจัดการการท่องเที่ยว ๖) ด้านการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
โดยมีผู้เข้าร่วม ๓๓ ท่าน จาก ๑๙ หน่วยงาน ดังนี้
๑) โครงการชลประทานพระนครศรีอยุธยา
๒) สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ ๒
๓) สำนักงานเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๔) สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๕) สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๖) สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๗) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมู่บ้านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๘) สำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๕ สระบุรี
๙) สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๐) สำนักงานสถิติจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๑) สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๒) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๓) สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๔) สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๕) สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๖) สถานีพัฒนาที่ดินพระนครศรีอยุธยา
๑๗) สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๘) สำนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๙) องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ที่ประชุมให้ข้อได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- ด้านทรัพยากรน้ำ การเกิดน้ำท่วม น้ำแล้ง ภัยจากความร้อน หรือผลกระทบที่ได้รับจากภัยพิบัติต่างๆ
- ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ มีการสูญเสียของทรัพยากรเช่น ชนิดกพันธุ์ของพืช ชนิดพันธุ์ของสัตว์ ความเสียหายต่อความหลากหลายทางระบบนิเวศ
- ด้านการการเกษตร ได้รับผลกรทบด้านการขาดแคลนน้ำ และน้ำท่วม เป็นประจำตามฤดูกาล และมีสัตว์ได้รับผลกระทบในการอาหารของสัตว์ เนื่องจากถ้าเกิดน้ำท่วมต้องอพยพสัตว์ในฟาร์ม และอาหารเช่นหญ้าที่ขากดแคลนจากการที่น้ำท่วมจนหมด
- ด้านสาธารณสุขให้ความคิดเห็นด้านการเกิดโรคระบาด โรค ไข้เลือดออก โรคที่มาตามฤดูกาล
- ด้านการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมเป็นส่วนมาก เนื่องจาก สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นโบราณสถานเป็นส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย และการบำรุงรักษาเป็นเรื่องยาก
- ด้านการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
ทั้งนี้ โครงการจะนำข้อสรุปจากการประชุมมาจัดทำแผนคาดการณ์ความเสี่ยงและผลกระทบที่ได้รับจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสนอในที่ประชุมคณะทำงานจังหวัด ครั้งต่อไป
Share: