ป่าชายเลนเกื้อหนุนหลายสรรพชีวิต (In Thai)

รู้หรือไม่ว่าสถานการณ์ป่าชายเลนของประเทศไทยเป็นยังไงบ้าง... 

  • ปี 2563 มีพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ 1.737 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นประมาณ 2 แสนไร่ เทียบกับปี 2557 มี 1.534 ล้านไร่ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2565)
  • ผืนป่าชายเลนประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เกิดจากการขยายตัวของพืชตามธรรมชาติบริเวณตะกอนปากแม่น้ำ ความร่วมมือของชุมชน ท้องถิ่น และทุกภาคส่วน ช่วยกันดูแล ฟื้นฟู ทำให้ผืนป่าชายเลนคืนสภาพสมบูรณ์ในหลายพื้นที่
  • พรรณไม้ป่าชายเลนในประเทศไทยมีประมาณ 78 ชนิด ได้แก่ โปรง ลำพู ตะบูน เหงือกปลาหมอ จาก ตาตุ่มทะเล หงอนไก่ เป็นต้น จัดเรียงตัวกันตามโซนพื้นที่ที่เกิดจากตะกอนที่มากับแม่น้ำสะสมรวมตัวกันเป็นหาดเลนกว้าง เป็นรอยต่อระหว่างทะเลกับพื้นดิน พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาชนิด ทั้งนก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตวไม่มีกระดูสันหลังต่าง ๆ
ป่าชายเลนมีความสำคัญอย่างไร
  1. เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
  2. แหล่งอาหารของสัตว์น้ำ
  3. ปกป้องการพังทลายของชายฝั่งจากคลื่นลม
  4. รักษาสมดุลของระบบนิเวศชายฝั่ง 
  5. แหล่งอาหารสำหรับชุมชนชายฝั่ง
  6. พรรณไม้ในป่าชายเลนสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ในสาเหตุการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

เรียบเรียงโดย คุณพวงผกา ขาวกระโทก
นักวิจัยอาวุโส สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://www.tei.or.th/th/infographic_detail.php?eid=2209