การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมหานคร: แนวทางและความท้าทายของกรุงเทพมหานครภายใต้สภาวะวิกฤตโลกเดือด (In Thai)

30 สิงหาคม 2567 ดร. วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของมหานคร ให้แก่ผู้เข่าร่วมการอบรมหลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนามหานคร (มหานครรุ่น 12) มหาวิทยานวมินทราธิราช  ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟฟาริน กรุงเทพมหานคร

ในการบรรยายครั้งนี้ ดร.วิจารย์ ได้แสดงให้เห็นเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมโลก ปัจจุบันเราใช้ทรัพยากรโลกเกินขีดความสามารถที่โลกจะสามารถสร้างทรัพยากรไปมากกว่า 1.7 เท่า ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งสร้างผลกระทบรุนแรงกว่าวิกฤตโควิด-19 ที่ผ่านมาอย่างมาก นอกจากนี้โลกเรากำลังเผชิญ 13 หายนะที่จะทำลายความยั่งยืน ทั้งภาวะโลกเดือดจากการใช้ เชื้อเพลิง Fossil การขาดธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อม การสูญเสียความหลากหลาย ทางชีวภาพ ขยะพลาสติกล้นโลก ขยะอาหารเหลือทิ้ง Food Waste การสูญเสียพื้นที่ป่า อากาศเป็นพิษและฝุ่นควัน เป็นต้น ในขณะเดียวกันปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงวิกฤต โดย UN ได้ประกาศให้โลกเข้าสู๋สภาวะโลกเดือด อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในปี 2024 อยู่ที่ 1.2 ± 0.1 °C สูงกว่าระดับก่อนยุค อุตสาหกรรมอย่างมากส่งผลให้ขอบเขตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือหายไป 13% ทุกทศวรรษ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 3.4มิลลิเมตร/ปี หรือกระทั่ง แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย427ล้านตันต่อปี ผลกระทบเหล่านี้ส่งผลให้หลายประเทศเกิดความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 20 ของโลก แต่กลับได้รับผลกระทบมากเป็นอันดับ 9 ของโลก ในขณะที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมเมืองในกรุงเทพมหานครก็รุนแรงเช่นเดียวกัน จากข้อมูลแบบสอบถามความคิดเหน็ต่อปัญหาด้าน สิ่งแวดล้อมในกรุงเทพฯ พบว่าคนกรุงเทพมีความกังวล และต้องการให้แก้ไขปัญหามลพิษอากาศมากที่สุด รองลงมาคือ ปัญหาขยะ ปัญหาพื้นที่สีเขียว ปัญหาน้ำท่วม ตามลำดับ โดยในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์มลพิษอากาศมนกรุงเทพทวีความรุนแรงขึ้นจึงต้องมีมาตรากรต่าง เช่น การมีแผนบริหารจัดการฝุ่นละอองในระยะวิกฤต การขยายระบบติดตามแจ้งเตือนฝุ่นระดับแขวง 1000 จุด การดำเนินโครงการรถคันนี้ลดฝุ่น รวมทั้งการพัฒนาแอปพิเคชั่น AirBKK เพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์การมลพิษอากาศแก่คนกรุงเทพอย่างใกล้ชิด ในขณะเดียวกันปัญหาขยะล้นเมืองของกรุงเทพก็เป็นปัญหาเร่งด่วนเช่นกัน แม้แนวโน้มปริมาณขยะมูลฝอยจะมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน แต่ขยะอันตราย หรือขยะในคูคลองยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อแก้ปัญหานี้ เช่น โครงการมือวิเศษเพื่อชวนคนกรุงเทพแยกขยะพลาสติก การร่วมมือเอกชนเพิ่มจุดทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือการใช้เรืออัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยเก็บขยะในแม่น้ำลำคลอง โดยสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหาขยะล้นเมืองคือ การประยุกต์หลัก BCG model เพื่อช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด กระตุ้นการหมุนเวียนผ่านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ซ่อมแซม หรือรีไซเคิลได้ ลดความต้องการในการสร้างของใหม่และลดปริมาณขยะที่ถูกทิ้งในสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียวในการผลิตและดำเนินธุรกิจ ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดการสร้างขยะ ในขณะที่ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่สีเขียวของคนกรุงเทพก็น่าเป็นหาวงเช่นกัน เนื่องจากปัจจุบันคนกรุงเทพมีพื้นที่สีเขียวเพียง 7.08 ตร.ม ต่อ คน ซึ่งน้อยกว่ามาตรฐานของ WHO ที่กำหนดให้มีพื้นที่สีเขียว 9 ตร.ม. ต่อ คน ดังนั้น กทม. จึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงฯ 10 ตารางเมตรตอ่คน ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 นอกจากนี้ยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ผ่านกิจกรรมปลูกต้นไม้ในนวันสำคัญทางศาสนา และวันสำคัญต่าง ๆ

การอบรมหลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการพัฒนามหานคร มีวัตถุประสงค์ในการสร้างทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจด้านการพัฒนาและบริหารจัดการมหานคร เปิดโอกาสให้บุคลากรจากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรรูปแบบต่าง ๆ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนะ ในมิติที่สามารถนำไปแก้ปัญหาหรือพัฒนาเมืองและมหานครได้ตลอดจนสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและเอกชนในกระบวนการบริหารเมืองของกรุงเทพมหานคร