TEI ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการหารือ “อนาคตของชายแดนไทย-เมียนมา” อนาคตศาสตร์ ฉากทัศน์การบริหารจัดการชายแดน (In Thai)

14 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI ภายใต้การดำเนินงานโครงการความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา ขับเคลื่อนการจัดการและลดมลพิษหมอกควันข้ามแดน นำโดยคุณวิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการ และคณะนักวิจัย เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การปรึกษาหารือด้านอนาคตศาสตร์ “อนาคตของชายแดนไทย-เมียนมา (ep.1 :ตอนกวาดสัญญาณ) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานด้านความมั่นคง สถาบันการศึกษาชั้นนำ องค์กรนอกภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านเมียนมาในสาขาต่าง ๆ เพื่อรวบรวมผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบในทุกมิติสร้างฉากทัศน์การบริหารจัดการชายแดนจากผลกระทบต่างๆ และกำหนดรูปแบบการทำงานร่วมกันในอนาคต ซึ่งจัดโดยกรมกิจการชายแดนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ร่วมกับสำนักนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ โรงแรมวินทรี ซิตี้ รีสอร์ท จังหวัดเชียงใหม่

หัวข้ออนาคตที่อยากให้เป็น *“One Thailand for Myanmar Future คือการพัฒนา Chang Agent ในด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและเราลมหายใจเดียวกัน"*   เป็นหนึ่งหัวข้องานกลุ่มที่ TEI และผู้แทนภาคีได้มีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นเสนอฉากทัศน์ พัฒนาระบบ governance และบุคลากรในพื้นที่ชายแดน โดยปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษหมอกควันข้ามแดน เป็นปัญหาวิกฤติสาธารณะร่วมกันที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพประชาชนในพื้นที่ชายแดนเป็นประเด็นและเป้าหมายในการพัฒนาและสร้างความเปลี่ยนแปลงร่วมให้กับเมียนมาได้มากที่สุดโดยควรมีแกนนำหลักสำคัญในการขับเคลื่อน ได้แก่ ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ กลุ่มเป้าหมายควรเป็นผู้นำภาคประชาสังคมและวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมในเมียนมา โดยร่วมกับภาคีจากหน่วยงานภาครัฐของไทยและเมียนมา ซึ่งผลที่คาดหวังคือการสร้างเครือข่ายผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนได้  ด้วยการจัด workshop ชี้ให้เห็นถึงปัญหา สร้างต้นแบบที่ดี และให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้จากประเทศไทยสู่ประเมียนมา ซึ่งการดำเนินการพัฒนาดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยและเมียนมาได้ทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายและให้มองว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาระดับโลกที่ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป โดยผลการหารือครั้งนี้จะเป็นประเด็นสำคัญที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณากำหนดนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเตรียมความพร้อมจัดทำแนวทางการแสวงความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศ โดยไทยมีบทบาทที่เหมาะสมต่อไป