แลกเปลี่ยนเรียนรู้กฎหมายและข้อบังคับด้านการจัดการคุณภาพอากาศ กรณีศึกษาประเทศอินโดนีเซีย (In Thai)

29 มีนาคม 2567 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนาความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา การจัดการและลดมลพิษหมอกควันข้ามแดน จัดประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านกฎหมายและมาตรการ กรณีศึกษาประเทศอินโดนีเซีย เพื่อรวบรวมข้อมูลมาตรการสำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการลดมลพิษหมอกควันข้ามแดน กรณีศึกษาประเทศอินโดนีเซีย ให้กับผู้แทนหน่วยงานภาครัฐประเทศไทย โดยมีนายพันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กล่าวเปิดการประชุมฯ  บรรยายพิเศษโดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หัวข้อ Th a i l a n d 's PM 2.5 Problems and Solutions  Ms. Renee Gift นักกฎหมายจาก UNEP ได้บรรยายหัวข้อ Guide on Ambient Air Quality Legislation

และกรณีศึกษาประเทศอินโดนีเซีย ได้รับเกียรติจาก Mr. Sigit Reliantoro อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ ประเทศอินโดนีเซีย
บรรยายในหัวข้อพระราชบัญญัติควบคุมและลดมลพิษทางอากาศและปัญหาหมอกควันข้ามแดน  Ms. Veronica Katrine ผู้เชี่ยวชาญร่างกฎหมาย ร่วมบรรยายในหัวข้อ Indonesia's National Policy on Air Quality Management โดยผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนได้ให้ความสนใจต่อ  กลไกและความร่วมมือของอินโดนีเซียที่มีการดำเนินการเชิงประจักษ์ในการลดหมอกควันข้ามแดนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีกระบวนการและขั้นตอนใน การขับเคลื่อนบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศและหมอกควันข้ามแดน  พร้อมมีข้อแนะนำสำหรับประเทศไทยในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือการพัฒนาระบบข้อมูลสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานและการพัฒนานโยบายการคุ้มครองและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ระบบข้อมูลสิ่งแวดล้อม การรับรองความสามารถของบุคคลที่รับผิดชอบด้านควบคุมมลพิษทางอากาศและผู้รับผิดชอบด้านควบคุมมลพิษทางอากาศในการดำเนินงาน
การมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการควบคุมมลพิษทางอากาศ (เช่น ความร่วมมือระหว่างชุมชนและธุรกิจ) สำคัญต้องมีความสอดคล้องกับบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศไทยต้องนำมาพิจารณาและปรับใช้ในการดำเนินงานให้เหมาะสมต่อไป