โครงการ “ส่งเสริมการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ” (พื้นที่ระยอง สมุทรปราการ)  

(Download)

 

1. หลักการและเหตุผล

กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency; JICA)ในฐานะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดําเนินโครงการ The Development of Base Schemes for PRTR System in Kingdom of Thailand: JICA-PRTR ซึ่งได้ดําเนินโครงการไปแล้วในช่วงปี 2554-2559 และในปี 2556 ได้มีการคัดเลือกจังหวัดระยองเป็นพื้นที่นําร่อง ซึ่งมีการประเมินการเคลื่อนย้ายและการปลดปล่อยจากแหล่งกําเนิดมลพิษต่างๆ ได้แก่ โรงงาน โรงพยาบาล สถานศึกษาที่มีห้องปฏิบัติการเคมี การเกษตร ยานพาหนะ คลังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง และบ้านเรือน โดยเฉพาะโรงงานในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องมีการดําเนินการรายงานข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ ด้วยระบบ Pollutant Release and Transfer Register (PRTR) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลที่เผยแพร่สู่สาธารณชนเกี่ยวกับชนิดและปริมาณของมลพิษเป้าหมายที่มีการปลดปล่อยจากแหล่งกําเนิดเป้าหมายประเภทต่างๆ สู่ตัวกลางสิ่งแวดล้อมทั้งอากาศ ดิน น้ำ รวมถึงข้อมูลการนําน้ำเสียและของเสียออกจากแหล่งกําเนิดไปบําบัดหรือกําจัด ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจะเป็นทั้งภาครัฐ สิ่งแวดล้อม และชุมชนบริเวณโดยรอบ รวมถึงการดําเนินการดังกล่าวได้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ตามยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการดําเนินการเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วม ทั้งในด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชน และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทุนทางธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน

ในปี 2560 กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ในการจัดทําทําเนียบและมีความประสงค์จะสานต่อความสําเร็จอย่างต่อเนื่อง โดยการขยายผลเข้าสู่เขตพื้นที่โรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ โดยให้โรงงานในกลุ่มเป้าหมายทั้ง 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี (2) อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์ (3) อุตสาหกรรมโรงกลั่น โรงแยกก๊าซ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม (4) อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะ (5) อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า (6) อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก (7) อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง (8) อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าและ ไอน้ำ และ (9) อุตสาหกรรมจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่เป็นโรงงานจําพวกที่ 3 และมีการถือครองสารเคมีเป้าหมายมากกว่า 1 ตัน/ปี ต้องรายงานการปลดปล่อยมลพิษด้วยตัวเอง และสําหรับโรงงานที่ ไม่เข้าข่ายต้องรายงานข้อมูลด้วยตนเองนั้นภาครัฐจะเป็นผู้ประเมินให้ โดยต้องรายงานการปลดปล่อย และเคลื่อนย้ายมลพิษด้วยระบบ PRTR เพื่อสํารวจข้อมูลการถือครองสารเคมีในโรงงาน ปรับปรุงการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ และประเมินการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษของโรงงานในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ รวมถึงการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องในพื้นที่นําร่องในจังหวัดระยอง เพื่อสร้าง ความตระหนักและความรู้ความเข้าใจให้กับโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 9 กลุ่มเกี่ยวกับระบบ PRTR และวิธีการประเมินการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

2. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจให้กับโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย 9 กลุ่มเกี่ยวกับระบบ PRTR และวิธีการประเมินการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ
  2. เพื่อสำรวจข้อมูลการถือครองสารเคมีของโรงงาน ปรับปรุงสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ และประเมินการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษของโรงงานที่ไม่เข้าข่ายที่ต้องจัดทำรายงานด้วยตนเอง
  3. เพื่อปรับปรุงระบบรายงานและประมวลผลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ
  4. เพื่อพัฒนากฎหมายว่าด้วยการจัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ
  5. เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการความเสี่ยงสารเคมี  

3. ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์

  1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  2. ยุทธศาสตร์กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ 1 พัฒนากลไกที่มีประสิทธิภาพในการกำกับดูแลภาคอุตสาหกรรม

4. กลุ่มเป้าหมาย

  1. โรงงานในพื้นที่จังหวัดระยอง และสมุทรปราการ
  2. โรงงานใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายต้องรายงานด้วยตนเอง ได้แก่
    • อุตสาหกรรมเคมีและปิโตรเคมี
    • อุตสาหกรรมโรงกลั่น โรงแยกก๊าซ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม
    • อุตสาหกรรมยานยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่รถยนต์
    • อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐานและผลิตภัณฑ์โลหะ
    • อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอุปกรณ์เกี่ยวกับไฟฟ้า
    • อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
    • อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
    • อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ
    • อุตสาหกรรมจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
  3. โรงงานที่มีหรือใช้สารเคมีเป้าหมายที่ไม่เข้าข่ายต้องรายงานการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษด้วยตนเอง

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. โรงงานตระหนักถึงปริมาณการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษออกจากโรงงาน
  2. โรงงานสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการวางแผนการลดการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษออกจากโรงงาน เกิดการลดภาคสมัครใจ
  3. ภาครัฐสามารถใช้ข้อมูลเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงสารเคมีภาคอุตสาหกรรม

6. แผนการดำเนินการและการจัดฝึกอบรม

ดำเนินการจัดฝึกอบรมและกิจกรรมช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2560 ณ จ.สมุทรปราการ และ จ.ระยอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

7. แผนการดำเนินการให้คำปรึกษาแนะนำและลงพื้นที่สำรวจเชิงลึก

 

1. สำหรับโรงงานที่ไม่เข้าข่ายต้องรายงานข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Non-point Source)

2. สำหรับโรงงานที่เข้าข่ายต้องรายงานข้อมูลการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Point Source) 

 

 

 

PRTR
Copyright TEI All rights reserved.