โครงการ “ดาว เคมิคอล เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน” (Dow Chemical for Sustainable Industry)
ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง ทำให้ภาคอุตสาหกรรม
ต้องเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต โดยต้องมีการตื่นตัวเพื่อรับมือกับภาวะการแข่งขัน
และการเปลี่ยนแปลงองค์กรในทุกๆ ด้าน ในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อสร้างผลกำไรให้มากขึ้น
โดยการลดต้นทุนการผลิต การลดของเสีย การใช้บุคลากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจาก
กลยุทธ์ดังกล่าวที่ธุรกิจต้องรับมือเพื่อการแข่งขันทางการตลาดแล้ว ยังมีเรื่องของการใช้มาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมรูปแบบต่างๆ ในการกีดกันทางการค้าอีกด้วย ซึ่งส่งผลมากต่อการค้า
ระหว่างประเทศ ดังนั้นปัจจุบันองค์กรที่จะประสบความสำเร็จ หรือสามารถปรับตัวให้ทันกับภาวการณ์แข่งขันและการกีดกันทางการค้านี้ได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในทุกมิติ
แนวคิด Lean & Green หรือ Lean Management for Environment เป็นเครื่องมือหนึ่ง
ที่มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยร่วมกับบริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด พัฒนาดัดแปลงนําไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กรมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการกําจัดความสูญเสีย (Waste)
ในขั้นตอนการปฏิบัติงาน (คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เพิ่มต้นทุนหรือเวลา โดยปราศจากการเพิ่มคุณค่า) ทั้งในกระบวนการผลิตและกระบวนการอื่นๆ ของสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นการดําเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมพร้อมไปกับ
การดําเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างโอกาสและรายได้เพิ่มขึ้นในทางธุรกิจแล้วในขณะเดียวกันยังช่วยในการปกป้องสิ่งแวดล้อม และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและความยั่งยืน
แก่ธุรกิจได้อีกด้วย เช่น การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การปรับปรุงเเละเปลี่ยนกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิต การลดการเกิดของเสีย/มลพิษให้น้อยที่สุดทุกขั้นตอน และมีการนําของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ในกระบวนการผลิต เป็นต้น
ในปี 2554 บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จำกัด และมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
จึงมีแนวคิดดำเนินโครงการ “ฝึกอบรมการจัดการสิ่งแวดล้อมและการป้องกันมลพิษที่ยั่งยืน สำหรับแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอุตสาหกรรม” (โครงการฯ ระยะที่ 1) โดยได้มีการพัฒนาแนวคิดและจัดทำคู่มือ Lean Management for Environment ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก และมีการให้ความรู้แก่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษา
รวมแล้วมากกว่า 2,300 คน และเพื่อให้เกิดการขยายผลอย่างต่อเนื่องจึงได้ดำเนินโครงการระยะที่ 2 (ปี 2556-2557) ภายใต้ชื่อ โครงการ “ดาว เคมิคอล เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน” โดยได้มีการฝึกอบรมความรู้หลักการ Lean Management for Environment เพิ่มขึ้นกว่า 600 ท่าน และมีการนำ
องค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้จริงในโรงงานนำร่อง 20 แห่ง ด้วยการให้คำปรึกษาแบบ Technical Coaching จากผู้เชี่ยวชาญ
ทั้งนี้ โครงการ “ดาว เคมิคอล เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน” ระยะที่ 3 ยังคงมุ่งมั่นที่จะขยาย
องค์ความรู้ และเพิ่มทักษะอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนบุคลากรเป็นที่ปรึกษาด้าน Lean Management for Environment
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ไปทุกภาคส่วน รวมทั้งยังคงเน้นการฝึกอบรมและสร้างรากฐานแนวคิดไปยังคนรุ่นใหม่ และผู้ประกอบการยุคใหม่เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้แข็งแกร่งสามารถใช้แนวทาง Lean Management for Environment ไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร
จัดการองค์กรให้ควบคู่กับการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน และอาชีวอนามัยและ
ความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเยาวชนในระดับอุดมศึกษา โดยการฝึกอบรมและการนำไปปฎิบัติจริงเพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่จะก้าวไปสู่การทำงานให้มีความพร้อมและมีศักยภาพในการประกอบอาชีพต่อไป เพื่อช่วยยกระดับบุคลากรเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้ยั่งยืนอย่างแท้จริง
- เพื่อสร้างที่ปรึกษาและพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนบุคลากรเป็นที่ปรึกษาการบริหารจัดการด้านลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม (Lean Management for Environment) ให้เป็นรูปธรรมและยั่งยืน
- เพื่อส่งเสริมและขยายผลการให้องค์ความรู้การบริหารจัดการด้านลีนเพื่อสิ่งแวดล้อมสู่
ผู้ที่จะก้าวมาเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่และ/หรือผู้ที่จะก้าวสู่อาชีพภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งกลุ่มเยาวชน/นักศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการของ Lean Management for Environment และสามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อขยายผลการให้คำปรึกษาเชิงลึกด้าน Lean Management for Environment แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และ/หรือองค์กรในภาคธุรกิจและบริการ ประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการองค์กรและโอกาสทางธุรกิจในตลาดสำคัญๆ ต่อไป
- งานด้านการฝึกอบรม
- ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจากโครงการระยะที่ 1 และระยะที่ 2 มาแล้ว
- บุคลากรจากภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ภาครัฐและเอกชน และสถาบันการศึกษา รวมอย่างน้อย 400 - 500 คน
- บุคคลทั่วไปที่สนใจ
- นักศึกษา เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์
และ/หรือคณะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม และโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนอย่างน้อย 100 – 150 คน
- การสร้างที่ปรึกษาลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม
- บุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมประจำโรงงาน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา
- บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ และ/หรือภาคเอกชน ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- เจ้าหน้าที่มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
- เจ้าหน้าที่กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย
- การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
- โรงงานอุตสาหกรรมและ/หรือองค์กรธุรกิจ จำนวนอย่างน้อย 20 แห่ง ดังนี้
- โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เคยร่วมโครงการฝึกอบรมในระยะที่ 1 หรือ 2 (คัดเลือกผ่านแบบสอบถามจากการติดตามความก้าวหน้าและศักยภาพที่จะสามารถเข้าร่วมโครงการได้)
- โรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สนใจ และ/หรือองค์กรธุรกิจ (ผ่านใบสมัครและ การประเมินเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญ)
คุณสมบัติของโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ (เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเบื้องต้น)
- เป็นกิจการที่จดทะเบียนการค้าและยังดำเนินธุรกิจอยู่
- เป็นกิจการที่ยื่นชำระและประเมินภาษีเงินได้ในรอบปีที่ผ่านมา
- ผู้ประกอบการโรงงาน และ/หรือผู้บริหาร มีความมุ่งมั่นและร่วมผลักดัน
การดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จตลอดระยะเวลาที่ดำเนินโครงการ
- พนักงานทุกระดับให้ความร่วมมือและสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ
เพื่อนำหลักการ Lean Management for Environment ไปประยุกต์ใช้
- บริษัท/โรงงานต้องมีความพร้อมในการเข้าร่วมตลอดทั้งโครงการ
- สามารถเปิดเผยข้อมูลการดำเนินโครงการแก่สาธารณชน
- มีที่ตั้งโรงงานหรือสำนักงานอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฎิบัติ จำนวนอย่างน้อย 60 คน แบ่งเป็น
- บุคคลทั่วไปที่ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตร “การสร้างที่ปรึกษาลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม” จำนวนอย่างน้อย 20 คน
- นักศึกษาที่ผ่านการฝึกอบรม จำนวนอย่างน้อย 40 คน จากหลักสูตร
- หลักสูตร “เตรียมความพร้อม สร้างคนรุ่นใหม่ พัฒนาองค์กรด้วยลีน
เพื่อสิ่งแวดล้อม”
- หลักสูตร “การสร้างที่ปรึกษาลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม”
4. รูปแบบการดำเนินโครงการ |
การดําเนินโครงการ “ดาว เคมิคอล เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน” ระยะที่ 3 ประกอบด้วยงาน 3 ส่วนหลัก ดังนี้
1. งานด้านการฝึกอบรม (ขยายผลจาก ระยะที่ 1 ระยะที่ 2 สู่ ระยะที่ 3)
แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตร |
วันฝึกอบรม |
หลักสูตรเทคนิคการบริหารจัดการด้วย Lean Management for Environment และ Innovative Technology (สำหรับบุคลากรภายในโรงงานอุตสาหกรรม/บุคคลทั่วไป) |
รุ่นที่ 1 (วันที่ 2-3 เม.ย. 58)
รุ่นที่ 2 (วันที่ 23-24 เม.ย. 58)
รุ่นที่ 3 (วันที่ 26-27 พ.ค. 58)
รุ่นที่ 4 (วันที่ 25-26 มิ.ย. 58)
รุ่นที่ 5 (วันที่ 16-17 ก.ค. 58)
รุ่นที่ 6 (วันที่ 27-28 ส.ค. 58)
รุ่นที่ 7 (วันที่ 17-18 ก.ย. 58)
รุ่นที่ 8 (วันที่ 23-24 ก.พ. 59)
รุ่นที่ 9 (วันที่ 22-23 มี.ค. 59)
รุ่นที่ 10 (วันที่ 26-27 เม.ย. 59)
รุ่นที่ 11 (วันที่ 30-31 พ.ค. 59)
รุ่นที่ 12 (วันที่ 28-29 มิ.ย. 59)
|
เตรียมความพร้อม สร้างคนรุ่นใหม่ พัฒนาองค์กรด้วยลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม (สำหรับนักศึกษา) |
รุ่นที่ 1 (วันที่ 14 – 16 ธ.ค. 58)
รุ่นที่ 2 (ม.ค. – ก.ค. 59)
รุ่นที่ 3 (ม.ค. – ก.ค. 59) |
2. การสร้างที่ปรึกษาลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม
มูลนิธิฯ จะดำเนินการจัดฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างที่ปรึกษาลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม” โดยจะจัดฝึกอบรมจำนวน 1 รุ่น แบ่งเป็นการอบรมภาคทฤษฎี เป็นเวลา 5 วัน และภาคปฏิบัติการทำงานจริงในสถานประกอบการเป็นเวลา 6 man-day (6-7 เดือน) โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างน้อย 60 คน
หลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าฝึกอบรม ดังนี้
- ผู้สมัครต้องเคยผ่านการฝึกอบรม และ/หรือ มีความรู้ด้านการวินิจฉัยสถานประกอบการ โดยมีใบประกาศนียบัตร และ/หรือหลักฐานอื่นๆ ใช้เป็นหลักฐาน
- ผู้สมัครต้องเคยผ่านการฝึกอบรมด้านลีน/สิ่งแวดล้อม/พลังงาน/อาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย โดยมีใบประกาศนียบัตร และ/หรือหลักฐานอื่นๆ ใช้เป็นหลักฐาน
- ผู้สมัครต้องมีความรู้พื้นฐานด้านลีน/สิ่งแวดล้อม/พลังงาน/อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้านใดด้านหนึ่ง โดยมีใบประกาศนียบัตร และ/หรือหลักฐานอื่นๆ ใช้เป็นหลักฐาน
- ผู้สมัครต้องมีความพร้อมในการเป็นที่ปรึกษาและรับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อาทิ ทักษะการเป็นวิทยากร ทักษะในการนำเสนองานต่อสาธารณชน ทักษะในด้านการสื่อสารและการถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ดี และเปิดโอกาสในการรับฟังความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น
- ผู้สมัครต้องมีความพร้อมและให้ความร่วมมือดำเนินกิจกรรมร่วมกับมูลนิธิฯ
- อื่นๆ (ถ้ามี)
แผนการดำเนินงานการสร้างที่ปรึกษาลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม
3. การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
การสร้างองค์กรและ/หรือโรงงานอุตสาหกรรม ให้เป็นหน่วยงานในการเรียนรู้ลีนเพื่อสิ่งแวดล้อมและ Innovative Technology พร้อมทั้งพัฒนาเยาวชนและ/หรือคนรุ่นใหม่ให้มีความพร้อมในการทำงานจริงในอนาคต รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้สามารถเป็นที่ปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการฝึกอบรมภาคปฏิบัติจากองค์กรและ/หรือโรงงานอุตสาหกรรมจริง อย่างน้อยรวม 20 แห่ง ทั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
3.1 การรับสมัครและคัดเลือกสถานประกอบการ
รับสมัครและคัดเลือกสถานประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และ/หรือโรงงานอุตสาหกรรม ที่ไม่เคยร่วมโครงการฯ จำนวนอย่างน้อย 20 แห่งที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งจะดำเนินการระหว่างปี 2559 – 2560 โดยจะนำบุคลากรที่มีความพร้อมเป็นที่ปรึกษาฯ ที่ผ่านการฝึกอบรมโครงการในปี 2558 - 2559 มาปฏิบัติงานจริงในการให้คำปรึกษาแก่โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในโรงงานโดยใช้หลักการลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าจะกำหนดเวลาเข้าโรงงานในช่วงเดือนกันยายน 2559 – เมษายน 2560
3.2 การรับสมัครผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฎิบัติ จำนวนรวมอย่างน้อย 60 คน แบ่งเป็น
- คัดเลือกจากผู้อบรมที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร “การสร้างที่ปรึกษาลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม” จำนวนอย่างน้อย 20 คน
- คัดเลือกจากนักศึกษาที่ผ่านการฝึกอบรม (1) หลักสูตร “เทคนิคการบริหารจัดการด้วย Lean Management for Environment และ Innovative Technology” และ (2) หลักสูตร “เตรียมความพร้อม สร้างคนรุ่นใหม่ พัฒนาองค์กรด้วยลีนเพื่อสิ่งแวดล้อม” จำนวนอย่างน้อย 40 คน
3.3 การจัดปฐมนิเทศ
จัดให้มีการปฐมนิเทศ เพื่อชี้แจงรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2559 เป็นเวลา 1 วัน
3.4 การฝึกอบรมภาคปฏิบัติ
มูลนิธิฯ จะจัดให้มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเตรียมเป็นที่ปรึกษา นักศึกษา และเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ จำนวนอย่างน้อย 8 คน/โรงงาน โดยรายละเอียดดังตาราง
รายละเอียดจำนวนคนและหน้าที่ของทีมงาน
|
รายละเอียด |
จำนวน |
หน้าที่ |
1 |
ผู้เชี่ยวชาญ |
จำนวน 4 คน/โรงงาน
(ด้านลีน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อย่างละ 1 คน) |
ให้คำแนะนำโรงงานและผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคปฎิบัติ (บุคลากรเตรียมเป็นที่ปรึกษาและนักศึกษา) และตรวจรายงาน |
2 |
บุคลากรเตรียมเป็นที่ปรึกษา |
จำนวน 1 คน/โรงงาน |
ฝึกอบรมปฎิบัติ จำนวน 6 Man-days และ จัดทำรายงานเป็นรายคน |
3 |
นักศึกษา |
จำนวน 2 คน/โรงงาน |
ฝึกอบรมปฎิบัติ จำนวน 6 Man-days
และจัดทำรายงานเป็นทีม |
4 |
เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ |
จำนวน 1 คน/โรงงาน |
ฝึกอบรมปฎิบัติ และประสานงานโครงการฯ |
หมายเหตุ : รายละเอียดจำนวนคนและหน้าที่ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
ทั้งนี้ แผนการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ จำนวน 7 วัน (7 Man-days) มีรายละเอียดดังนี้
- ผู้เข้าอบรมเข้าวินิจฉัยสถานประกอบการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำระหว่างการฝึกปฏิบัติในสถานที่จริงจำนวน 6 Man-days
- ผู้เข้าอบรมนำเสนอผลงาน จำนวน 1 Man-days โดยมีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำ
รายละเอียดขั้นตอนการดำเนินงานการสร้างที่ปรึกษาและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ฯ
36 เดือน (ธันวาคม 2557 – ธันวาคม 2560)
- มีบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการประยุกต์ใช้งานด้วย การให้คำปรึกษาแนะนำด้าน Lean Management for Environment แก่ภาคอุตสาหกรรม หรือภาคธุรกิจและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม
- เกิดการพัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลากรด้านลีนเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
- บุคลากรจากภาคอุตสาหกรรม และภาคส่วนอื่นๆ มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนด้วยหลักการ Lean Management for Environment ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการจัดการและพัฒนาองค์กรต่อไป ได้แก่ การลดต้นทุนการผลิต
การลดมลพิษ/ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นอย่างครบวงจร รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ตลอดจนการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าในระยะยาวได้ด้วยตนเอง
- สร้างและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้สามารถนำหลักการ
Lean Management for Environment ไปประยุกต์ใช้ได้จริงในโรงงานอุตสาหกรรมและ
สถานประกอบการอื่นๆ รวมทั้งสามารถเผยแพร่และใช้เทคนิคการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรด้านสิ่งแวดล้อมแต่ละรายสาขาอุตสาหกรรม และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนได้ต่อไป
- สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการให้คำปรึกษาเชิงลึกด้าน Lean Management for Environment ภายใต้โครงการฯ ระยะที่ 3 มีผลการดำเนินงานปรับปรุงที่ดีขึ้นทั้งในด้านลีน
ด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน และอาชีวอนามัย และเป็นตัวอย่างที่ดี (Showcase) แก่สถานประกอบการที่มีการประกอบกิจการประเภทเดียวกันได้ต่อไป
7. หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ |
- มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (หน่วยงานดําเนินการ)
- บริษัท ดาว เคมิคอล ประเทศไทย จํากัด (หน่วยงานสนับสนุนงบประมาณ)
- กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม (องค์กรร่วมจัด)
- หุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์ ไทย-สหรัฐ (องค์กรร่วมจัด)
|