ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและการจ้างงานของประเทศ แต่ด้วยการแข่งขันที่สูงทำให้ภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันคู่แข่งทางธุรกิจและต้องพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมและชุมชน โดยโรงงานอุตสาหกรรมต้องดำเนินกิจการให้เป็นไปตามกฏหมาย และมีการประเมินผลกระทบด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการหรือขยายการดำเนินกิจการในอนาคตด้วยเพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย และสังคม จนเกิดเป็นข้อพิพาทหรือความขัดแย้งต่อชุมชนและบริเวณโดยรอบสถานประกอบการ ทั้งนี้แนวทางประกอบกิจการเพื่อให้เป็น “อุตสาหกรรมสีเขียว” จึงเป็นคำตอบหลักของการดำรงอยู่ของภาคอุตสาหกรรมทั้งในวันนี้และวันหน้า โดยโครงการส่งเสริมและพัฒนาสถานประกอบการสู่อุตสาหกรรมสีเขียวได้ริเริ่มโดยกระทรวงอุตสาหกรรมในปี2554 จนถึงปัจจุบัน มีสถานประกอบการที่ผ่านการรับรองเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวทั้งสิ้นประมาณ 31,324 รายแบ่งเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 1 (Green Commitment) อุตสาหกรรม
สีเขียวระดับที่ 2 (Green Activities) อุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 (Green System) อุตสาหกรรม
สีเขียวระดับที่ 4 (Green Culture)และอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 (Green Network)
ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงได้จัดทำโครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่สถานประกอบการเพื่อมุ่งสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (พื้นที่ที่ 1)โดยสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับคำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตลดการใช้วัตถุดิบ ทรัพยากรและพลังงานลดการเกิดของเสีย/มลพิษให้น้อยที่สุดทุกขั้นตอน ทำให้ค่าใช้จ่ายของต้นทุนลดลง ส่งผลให้มีกำไรเพิ่มขึ้นสร้างโอกาสในการแข่งขันทางการตลาด
ในขณะเดียวกันยังสามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง ซึ่งช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี นอกจากนี้สถานประกอบการจะได้รับการยกระดับอุตสาหกรรมในการขอรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับที่สูงขึ้นเพื่อให้เป็นที่ยอมรับระดับประเทศและนานาชาติ ก้าวสู่อุตสาหกรรมยั่งยืนต่อไปในอนาคต
- เพื่อให้สถานประกอบการได้รับรู้เชิงลึกในการบริหารจัดการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม
- เพื่อให้สถานประกอบการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันได้แก่วัตถุดิบน้ำและพลังงาน ด้วยการสร้างสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการอนุรักษ์ปกป้องรักษาระบบนิเวศไปพร้อมๆ กัน
- เพื่อพัฒนาความสามารถและเสริมสร้างจิตสำนึกให้พนักงานและผู้ประกอบการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพนักงาน และเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโรงงาน
- เพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนำความรู้การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติสามารถปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ขจัดข้อร้องเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากชุมชนในบริเวณรอบข้าง
- เพื่อยกระดับสถานประกอบการให้เป็นอุตสาหกรรมสีเขียวในระดับที่สูงขึ้น
3. ความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ |
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
ตามยุทธศาสตร์ของประเทศในยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมในยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการลงทุนและการพัฒนาอุตสาหกรรม และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ
กรมโรงงานอุตสาหกรรมในยุทธศาสตร์ที่ 2 คือ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในภาคอุตสาหกรรม
สถานประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรมในพื้นที่ ดังนี้
- พื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 18 เขต ได้แก่ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตสัมพันธวงศ์ เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสาทร เขตยานนาวา เขตบางพลัด เขตบางคอแหลม เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตตลิ่งชัน และเขตจอมทอง
- พื้นที่ปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และอยุธยา
เกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการ |
เพื่อยกระดับการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 |
เพื่อยกระดับการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3 |
- สถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
- สถานประกอบการไม่อยู่ระหว่างการขอรับรอง/ ต่ออายุการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2
- ให้ความร่วมมือในการกรอกข้อมูลใบสมัครได้ครบถ้วนสมบูรณ์
- ผู้บริหารขององค์กรแสดงความมุ่งมั่นและให้ความร่วมมือกับโครงการในการพัฒนาองค์กรสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว
|
- สถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
- สถานประกอบการไม่อยู่ระหว่างการขอรับรอง/ ต่ออายุการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 3
- ให้ความร่วมมือในการกรอกข้อมูลใบสมัครได้ครบถ้วนสมบูรณ์
- สถานประกอบการยังไม่เคยได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001/ ISO 50001/ EMS for SMEs ขั้นที่ 2/ CSR-DIW เป็นต้น
- ผู้บริหารขององค์กรแสดงความมุ่งมั่นและให้ความร่วมมือกับโครงการในการพัฒนาองค์กรสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว
|
เพื่อยกระดับการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 |
เพื่อยกระดับการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 |
- สถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
- สถานประกอบการไม่อยู่ระหว่างการขอรับรอง/ ต่ออายุการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4
- ให้ความร่วมมือในการกรอกข้อมูลใบสมัครได้ครบถ้วนสมบูรณ์
- สถานประกอบการยังไม่เคยได้รับการรับรองหรืออยู่ระหว่างการต่ออายุการรับรองมาตรฐาน ISO 26000/ CSR
- ผู้บริหารขององค์กรแสดงความมุ่งมั่นและให้ความร่วมมือกับโครงการในการพัฒนาองค์กรสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว
- สถานประกอบการต้องไม่มีข้อร้องเรียนแบบลายลักษณ์ภายใน 3 ปีนับจากวันที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
|
- สถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย
- สถานประกอบการไม่อยู่ระหว่างการขอรับรอง/ ต่ออายุการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5
- ให้ความร่วมมือในการกรอกข้อมูลใบสมัครได้ครบถ้วนสมบูรณ์
- สถานประกอบการที่ได้รับใบรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 4 หรือดำเนินการตามรายการตรวจประเมิน ระดับที่ 4/ Eco-Town
- ผู้บริหารขององค์กรแสดงความมุ่งมั่นและให้ความร่วมมือกับโครงการในการพัฒนาองค์กรสู่มาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว
|
- เพื่อยกระดับความสามารถและมาตรฐานของโรงงานในเรื่องอุตสาหกรรมสีเขียว
- โรงงานสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- พนักงานและผู้ประกอบการเกิดจิตสำนึกในเรื่องสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมสีเขียวมากยิ่งขึ้น
- โรงงานสามารถนำความรู้ในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสีเขียวไปปรับประยุกต์ใช้
|