เรื่องราว เรื่องเล่า แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดแนวปฏิบัติที่ดีกิจกรรมสร้างสุข 12 องค์กรภาคีภาคประชาสังคมภาคใต้

9-16 กุมภาพันธ์ 2566 โครงการศึกษาและพัฒนาองค์กรสุขภาวะภาคประชาสังคม  นำโดย คุณวิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการ และคณะทำงาน ลงพื้นที่เยี่ยมเยือนบ้านภาคีภาคใต้ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนกิจกรรมสร้างสุขร่วมกับผู้บริหารและแกนนำกิจกรรมสร้างสุของค์กรภาคใต้ ได้แก่

*สถาบันถิ่นฐานไทย จ.ประจวบคีรีขันธ์*  ก่อตั้งจากบุคคลที่มีความมุ่งมั่นในการศึกษาประวัติศาสตร์ เรื่องราวในอดีตเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาผสมผสานงานสารสนเทศกับประเด็นการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่ปี 2525 และดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรวบรวมเรื่องราวอดีต วัตถุโบราณ และโบราณสถานในพื้นที่ต่างๆ ให้เกิดการยืนยันทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ สถาบันฯ ได้ริเริ่มโครงการถิ่นฐาน สร้างฐานความสุข โดยมุ่งการ Happy Brain กับคนทำงานให้เกิดการเพิ่มพูน ผ่านการปฏิบัติจริงด้วยกิจกรรม Learning by doing และมีพี่เลี้ยง/Buddy ในการทำงานในแต่ละกิจกรรม ส่งผลให้เกิดความกระตือรือร้นและสื่อสารงานกันมากขึ้น

*สมาคมเพื่อนสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพร*  ก่อตั้งเมื่อปี 2549 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรในการอนุรักษ์ จัดการดิน น้ำ (river)(broadleaf tree)ป่า สร้างองค์ความรู้ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง สมาคมฯ ได้ริเริ่มการสร้างสุขให้บุคลากรด้วยการปลูกผักสวนครัว(corn)(sprout) ผักปลอดสารพิษ สร้างเสริมด้านอารมณ์ผ่อนคลาย ผลผลิตแบ่งปันให้ชุมชนใกล้เคียง กินผักปลอดภัย และยังอยากจะรวบรวมเก็บเมล็กพันธุ์ผักพื้นบ้านด้วยคนทำงานเองทดแทนการซื้อเมล็ดผักจากตลาด

*มูลนิธิหลวงปู่สงฆ์จันทรสโรเพื่อการวิจัย จ.ชุมพร* ก่อตั้งเมื่อปี 2560 จากแกนนำที่ต้องการศึกษาเพื่อเป็นฐานข้อมูลแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า สัตว์ป่า (forest)ทะเลและชายฝั่ง ความหลากหลายทางชีวภาพ มลพิษ (volcano)โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เด็ก สตรี ผู้พิการ ด้อยโอกาส และบุคคลทั่วไป โดยมีคนทำงานสนับสนุนการศึกษาวิจัยตามประเด็นงานในแต่ละปี  และน่าสนใจ อาทิ ธนาคารน้ำใต้ดิน วิถีประมงพื้นบ้านคนสองอ่าว วัฒนธรรมการเข้าวัด สวัสดิการชุมชน ตลอดจนยังได้ทำวิจัยเรื่ององค์ความรู้ในการจัดการชีวิตให้มีความสุขจากอดีตสู่ปัจจุบันและในอนาคต เป็นต้น

*มูลนิธิป่า-ทะเลเพื่อชีวิต จ.สุราษฎร์ธานี*  ก่อตั้งจากเยาวชนทำค่ายที่คลุกคลีละเห็นปัญหาของการพัฒนาและการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำ ดิน และป่าไม้(baobab tree) และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมาอย่างต่อเนื่อง ร่วมพัฒนาความเข้มแข็งชุมชนในการพิทักษฺสิทธิ ประโยชน์ของชุมชน อาทิ การเรียนรู้สู่การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอ่าวบ้านดอนอย่างยั่งยืน เป็นต้น

*สมาคมคนรักษ์เลกระบี่ จ.กระบี่* เกิดจากการรวมตัวกันของชาวประมงพื้นที่บ้านเพื่อมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งกับการพัฒนาของจังหวัดให้เกิดการทบทวนในประเด็นที่มีผลกระทบกับชุมชนดั้งเดิม การศึกษาวิจัย (open book) อย่างมีส่วนร่วมเพื่อให้ได้ข้อมูลในการตัดสินใจร่วมกันในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร (river)ที่เหมาะสม โดยมีประเด็นทำงานสำคัญ ได้แก่ ประมงชายฝั่ง บ้านริมน้ำรุกชายฝั่ง การท่องเที่ยว หญ้าทะเล ปลิงทะเล เป็นต้น

*สมาคมเพื่อเยาวชนและพัฒนาสังคมภาคใต้ตอนบน จ.นครศรีธรรมราช* ก่อตั้งเมื่อปลายปี 2560 จากกิจกรรมพัฒนาเยาวชน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยสังคม รณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ ร่วมผลักดันนโยบายสาธารณะปกป้องเด็กและเยาวชน สมาคมให้ความสำคัญและสนใจการเสริมพลัง (praying)ของเจ้าหน้าที่ประจำโครงการในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานกันมากขึ้น ตลอดจนการเปิดโอกาสในการศึกษาดูงานในงานที่เกี่ยวข้องในระยะต่อไป 

*สมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช* ริเริ่มจากปัญหาและผลกระทบอาชีพประมงพื้นบ้าน แก้ไขปัญหาเรือคาดหอยในพืนที่อ่าว จนเกิดเป็นพลังความร่วมมือ(handshake)และการแก้ไขปัญหาในกลุ่มชาวประมงในพื้นที่ต่างๆ รอบอ่าว จักทำฐานข้อมูลเพื่อพิสูจน์มูลค่าและคุณค่าของฐานทรัพยากรเพื่อปกป้องและเป็นทางเลือกกับโครงการพัฒนาที่ส่งผลกระทบกับพื้นที่เกิดดการจัดปรับและอยู่ร่วมกับทะเลอย่างยั่งยืน ความสุขของทุกคนที่นี่การมีอาชีพที่มั่นคงจากทะเลและชายฝั่ง

*สมาคมแพทย์แผนไทยจังหวัดพัทลุง*  ก่อตั้งมากว่า 20 ปี โดยแกนนำผู้สนใจในวิชาแพทย์ดำเนินการส่งเสริมการปลูกสมุนไพร รักษาระบบการแพทย์แผนไทย ฝึกอบรม สร้างงานและอาชีพให้แก่ชุมชน สมาคมฯ ได้ริเริ่มกิจกรรมเดินป่าสร้างสุข เก็บหาและเรียนร้สมุนไพร ซึ่งถือเป็นการพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้จากพืชใกล้ตัว ส่งเสริมให้เกิดความสามัคคีไปในตัว

*สมาคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ จ.ปัตตานี* ก่อตั้งเมื่อปี 2558 จากแกนนำนิสิตที่อยู่ท่ามกลางความคิดต่างและความคิดแย้งในลักษณะการศึกษาจิตตปัญญาบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรมผ่านกระบวนการจัดค่ายเยาวชนเพื่อหล่อหลอมรวมให้เกิดทักษะ เท่าทันสื่อ เพิ่มบทบาทเยาวชน ร่วมพัฒนาชายแดนใต้  ดังนั้นแนวคิดความสุขของสมาคมจึงอยากมุ่งเน้นให้คนทำงานได้รับการพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่ง ให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในทุกๆวัน

*สมาคมลุ่มน้ำสายบุรี จ.ปัตตานี* ริเริ่มและจัดตั้งเมื่อปี 2556 จากอาจารย์สายวิจัยการพัฒนาที่คลุกคลีกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เห็นปัญหาพื้นที่ชุมน้ำที่ถูกคุกคามจากการพัฒนา โดยใช้หลักการจัดการด้วยภูมิปัญญา จิตวิญญาณ หลักศาสนาซึ่งถือเป็นหลักการจัดการขั้นสูง ร่วมกันสร้างธรรมนูญชุมชน สนใจและอยากริเริ่มกิจกรรมสร้างสุข “น้ำชา สร้างสุข”เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างสุขจากวงพูดคุยในวงของคนดื่มชา (tea)วิถีของคนในพื้นที่

*สมาคมรักษ์ทะเลไทย จ.สงขลา* องค์กรภาคประชาสังคมแรกของภาคใต้ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือ (praying)ของสถาบันการศึกษา โดยมุ่งดำเนินงานในชุมชนประมงขนาดเล็กเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวประมง สร้างบ้านปลา ธนาคารปู ร้านคนจับปลาในรูปแบบเครือข่ายสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน สมาคมมีทั้งคนรุ่นใหม่และรุ่นก่อตั้ง มีการผสานและส่งเสริมการเรียนรู้งานระหว่างกัน ร่วมกิจกรรมกับชุมชนในการจัดการทรัพยากรที่ยั่งยืน

*มูลนิธิอันดามัน จ.ตรัง* ก่อตั้งเมื่อปี 2552 จากการเกาะเกี่ยวเครือข่ายผู้ร่วมอุดมการณ์ฟื้นฟูชุมชชายฝั่งอันดามันหลังสึนามิถล่มเพื่อการพึ่งตนเอง ฟื้นฟูอาชีพ ชีวิต และธรรมชาติให้เกิดการพัฒนา ศึกษาความรู้สู่การอนุรักษ์ที่เหมาะสมและยั่งยืน ปัจจุบันมุ่งคุ้มครองคววามหลากหลายทางชีวภาพ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่ชยฝั่งทะเล ปัจจุบันมีคนหนุ่มสาวร่วมทำงานในพืนที่จังหวัดและร่วมกับองค์กรภาคใต้ฝั่งอันดามัน


การแลกเปลี่ยน 12 องค์กรข้างต้น ได้เห็นถึงประเด็นการทำงานที่หลากหลาย แตกต่างจากฐานความมุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ รวมถึงการให้ความสำคัญกับความสุขคนทำงาน ความสัมพันธ์ภายในที่อาจมองข้าม จึงลดความสมดุลระหว่างงานและชีวิตคนทำงาน หลายองค์กรจึงมุ่งมั่นที่จะร่วมกันตั้งเป้าหมายของความสุขให้ง่ายๆ สอดคล้องกับการทำงานและความเปลี่ยนแปลงความสุขเพื่อให้เกิดเป็นวิถีขององค์กรในระยะต่อไป