หน้าหลัก
รู้จัก ม.ส.ท.
ภาพรวม ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
รู้จัก ม.ส.ท.
วิสัยทัศน์ | พันธกิจ
โครงสร้างองค์กร
คณะกรรมการมูลนิธิ
คณะกรรมการบริหารสถาบัน
คณะผู้บริหาร
เจ้าหน้าที่
วิถีเรา
สโลแกน
รายงานประจำปี | รายงานงบการเงิน
สำนักงานสีเขียว
รางวัลและเกียรติประวัติ
กองทุน
กองทุน ดร.ธีระ พันธุมวนิช
กองทุนสุขภาพกับสภาวะโลกร้อน
งานของเรา
กลุ่มงานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
งานของเรา
สิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมยั่งยืน
มลพิษอุตสาหกรรม
สิ่งแวดล้อมเมืองและชุมชน
ชุมชนและเมืองน่าอยู่
ขยะชุมชน-ขยะอาหาร
ขยะพลาสติก
ฝุ่น PM2.5
การผลิตและการบริโภคยั่งยืน
ฉลากเขียว
ฉลากสิ่งแวดล้อม
บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ที่ปรึกษาคาร์บอนฟุตพริ้นท์
จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรทางบก
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การลดก๊าซเรือนกระจก
การปรับตัว
การพัฒนาบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม
งานฝึกอบรม
สิ่งแวดล้อมศึกษา
นโยบาย แผน เครือข่ายสิ่งแวดล้อม
นโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
TBCSD
คลังความรู้
แหล่งรวมความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
คลังความรู้
บทความ
อินโฟกราฟิก | โปสเตอร์
คลิปวิดีโอ
เอกสารเผยแพร่
สิ่งพิมพ์จำหน่าย
กิจกรรมข่าวสาร
ข่าวสารความเคลื่อนไหว
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมข่าวสาร
กิจกรรมของเรา
ข่าวสิ่งแวดล้อม
ร่วมงานกับเรา
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ร่วมงานกับเรา
งาน
ฝึกงาน
ติดต่อเรา
กิจกรรมข่าวสาร
กิจกรรมของเรา
...
ทีมวิจัย โครงการ Urban Heat Resilience หารือมูลนิธิดวงประทีปเพื่อขอความอนุเคาะห์ลงพื้นที่สำรวจชุมชนคลองเตย
25 สิงหาคม 2567 : สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI โดยโครงการ ‘Urban Heat Resilience’ บรรเทาเมืองระอุ: ผสานวิทยาศาสตร์ นโยบาย และการออกแบบที่ยั่งยืน นำโดย ดร.จีรนุช ศักดิ์คำดวง ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย Dr. Niladri Gupta ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรน้ำจากศูนย์เตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) และคุณ Simon Hammer ผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (NbS) จาก Alluvium ร่วมด้วยเพื่อเข้าพบกับนางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนคลองเตย โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเข้าพบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำรายละเอียดของโครงการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรภาคีที่เข้าร่วมในการประชุม ทีมงานได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการผสานวิทยาศาสตร์ นโยบาย และการออกแบบที่ยั่งยืนในการต่อสู้กับปัญหาความร้อนในเมือง พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะแจากมูลนิธิดวงประทีปเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาโครงการให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน
โดยนางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนคลองเตย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และครอบครัวที่อาศัยอยู่ในสภาพความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก โดยเฉพาะในด้านการศึกษา สาธารณสุข และการพัฒนาทางสังคม อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในชุมชนคลองเตยมากขึ้น แต่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญ นางประทีปได้ชี้ให้เห็นว่า ชุมชนแออัดในคลองเตยเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจรและเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากบ้านเรือนมีความแออัดและระบบไฟฟ้าไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัญหาที่นางประทีปเน้นย้ำคือ ความร้อนในบ้านเรือน ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน ที่สภาพความเป็นอยู่ในบ้านที่อัดแน่นทำให้การระบายอากาศยากลำบาก ทำให้บ้านมีอุณหภูมิสูงและไม่สามารถอยู่อาศัยได้อย่างสบาย ด้วยเหตุนี้ นางประทีปจึงแสดงความสนใจอย่างมากในโครงการ ‘Urban Heat Resilience’ ซึ่งมุ่งเน้นการบรรเทาปัญหาความร้อนในเมืองผ่านการผสานวิทยาศาสตร์ นโยบาย และการออกแบบที่ยั่งยืน เธอเล็งเห็นว่า การมีโครงการที่มุ่งแก้ไขปัญหาความร้อนโดยตรงจะสามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นางประทีปได้เน้นย้ำว่า การเก็บข้อมูลจากชุมชนเป็นสิ่งสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ การเข้าใจปัญหาจากมุมมองของผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จะช่วยให้โครงการสามารถพัฒนาวิธีการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งเธอพร้อมที่จะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่
Share:
แชร์
Tweet
Tags:
ชุมชนน่าอยู่
ม.ส.ท.
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
สิ่งแวดล้อม
Share: