การหารือขับเคลื่อนกลไกระดับนโยบายและการปฏิบัติการในระดับพื้นที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy) ในการดำเนินการลดการเผา ลดหมอกควันข้ามแดน (In Thai)

5 กรกฎาคม 2567 สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI โดยโครงการพัฒนาความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา ขับเคลื่อนการจัดการและลดมลพิษหมอกควันข้ามแดน นำโดย ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ที่ปรึกษาโครงการ คุณเบญจมาส โชติทอง ผู้อำนวยฝ่ายพัฒนาโครงการและแผนงาน ที่ปรึกษาโครงการ ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษข้ามแดน คุณวิลาวรรณ น้อยภา หัวหน้าโครงการ และคณะ  เข้าร่วมการประชุมหารือการขับเคลื่อนกลไกการประสานงานระดับนโยบายประเทศและการปฏิบัติการในระดับพื้นที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy) ให้เกิดผลร่วมคุณปรีญาพร สุวรรณเกษ  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ และผู้บริหาร จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เข้าร่วมประชุม หารือต่อการดำเนินงานโครงการซึ่งมีความก้าวหน้าในระดับนึงและยังต้องขับเคลื่อนกลไกการประสานงานทางการที่ชัดเจนในระดับประเทศ ณ ห้องประชุมกรมควบคุมมลพิษ

ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (CLEAR Sky Strategies) ประกอบด้วยแนวคิดหลัก คือ
C มุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง- โดยทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายการดำเนินงานในการลดจุดเกิดไฟ ดังที่ได้ระบุไว้ในแผนปฏิบัติการเชียงราย 2017
L ยกระดับกลไก- ทำงานเพื่อยกระดับกลไกที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง
E แบ่งปันประสบการณ์- สนับสนุนความพยายามในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ รวมถึงข้อกฎหมายที่บังคับใช้ในแต่ละประเทศเพื่อควบคุมและกำกับแหล่งที่มาของหมอกควันพิษข้ามแดน
A เครือข่ายคุณภาพอากาศ-เพิ่มปฏิบัติการที่สอดคล้องกันของเครือข่ายคุณภาพอากาศในประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง
R การตอบสนอง- ตอบสนองต่อประเด็นปัญหาด้านหมอกควันพิษข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

โดยประเทศลาว เมียนมา และไทย ต่างรับรู้ความสำคัญพยายามร่วมกันเพื่อป้องกัน บรรเทาและจัดการหมอกควันพิษตลอดแนวพรมแดนประเทศ ดังที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยหมอกควันพิษข้ามพรมแดน โดยการเน้นที่ความร่วมมือที่สามารถปฏิบัติได้จริงระหว่างประเทศ การ เพิ่มพูนความร่วมมือเพื่อบรรลุการเป็นภูมิภาคปลอดหมอกควันพิษด้วยการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส  โดยโครงการได้เสนอให้มี steering committee ของประเทศไทย เพื่อเป็นกลไกหลักและชัดเจนในการกำหนดทิศทาง สนับสนุนงบประมาณ สร้างแรงจูงใจ ร่วมดำเนินการ กำกับ และติดตามงานให้การพัฒนาความร่วมมือไทย-ลาว-เมียนมา ขับเคลื่อนการจัดการและลดมลพิษหมอกควันข้ามแดนให้เกิดความต่อเนื่องและความร่วมมือในระยะยาว